Page 186 - kpiebook67026
P. 186
185
ศึกษา อบรมบุคลากรทั้งในภาครัฐและภาคเอกชนเพื่อให้เกิดการปฏิบัติบนพื้นฐานของ
ความเคารพที่แตกต่างกันในเรื่องเพศสภาพ การสร้างบรรยากาศที่เป็นมิตรในที่ท�างาน
และสถานการศึกษา การคุ้มครองบุคคลที่มีการแสดงออกแตกต่างจากเพศโดยก�าเนิด
ในพื้นที่สาธารณะผ่านบทบัญญัติของกฎหมาย การสร้างระบบการให้บริการสาธารณสุข
บนฐานคิดเรื่องสิทธิมนุษยชน เป็นต้น
ในทางกลับกัน ผลจากการศึกษายังพบว่าการยอมรับความหลากหลายทางเพศ
ในบางประเทศยังคงพบข้อจ�ากัดหรืออุปสรรคอยู่มาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการยึดติดกับ
บรรทัดฐานเดิมของสังคมในระบบสองเพศอย่างแน่นแฟ้น การขับเคลื่อนประเด็นเรื่อง
ดังกล่าวจึงอาจถูกโต้แย้งว่าเป็นการสร้างการยอมรับด้วยวิธีการยัดเยียดให้กับสังคม
ดังกล่าวได้เช่นกัน ประกอบกับแม้ว่าประเทศเหล่านั้นจะมีกฎหมายในระดับพระราชบัญญัติ
ให้การรับรองรองสิทธิในอัตลักษณทางเพศสภาพของบุคคลแล้วก็ตาม แต่หากขาด
การก�าหนดรายละเอียดหรือแนวปฏิบัติที่จ�าเป็นต่อการบังคับใช้กฎหมายที่เป็นมาตรฐาน
อย่างเดียวกันแล้ว การรับรองสิทธิเหล่านั้นย่อมเป็นการยากที่จะเกิดขึ้นในสังคมได้
อย่างแท้จริง
5.1.7 ประเด็นเรื่องผลกระทบด้านคุณภาพชีวิต
ผลจากการศึกษาพบว่า การประกาศใช้กฎหมายรับรองเพศสภาพ ได้ส่ง
ผลกระทบกับบทบัญญัติของกฎหมายซึ่งได้ก�าหนดเกี่ยวกับการให้บริการต่าง ๆ ที่ยึดโยง
กับระบบสองเพศ เช่น บทบัญญัติเกี่ยวกับที่พักอาศัย การให้ความสนับสนุนสิทธิสตรี
การปรับปรุงสิ่งอ�านวยความสะดวก การให้บริการจากโรงพยาบาล การจัดการในเรือนจ�า
รวมถึงประเด็นเรื่องการจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคล เป็นต้น ซึ่งส่งผลเป็นการช่วยลดปัญหา
การเลือกปฏิบัติ การใช้ความรุนแรงและการตีตราทางสังคมต่อคนข้ามเพศ และชุมชน
ของคนที่มีความหลากหลายทางเพศ นอกจากนั้นยังท�าให้เกิดการปฏิรูประบบการแพทย
และสาธารณสุข ที่ท�าให้ผู้จัดบริการให้ความส�าคัญกับความต้องการ ความรู้สึก
และเจตจ�านงของผู้ใช้บริการมากกว่าอดีต ที่ข้อบ่งชี้ทางสุขภาพเป็นสิ่งส�าคัญที่สุด
ในการจัดบริการสุขภาพ