Page 184 - kpiebook67026
P. 184
183
การรับรองเพศสภาพในเอกสารที่ได้รับอนุญาตให้อยู่อาศัยในประเทศ หรือบัตรประจ�าตัว
บุคคล ส�าหรับประเด็นเรื่องใบสูติบัตรนั้น ถือว่าเป็นอ�านาจของประเทศต้นก�าเนิด
ที่จะด�าเนินการในเรื่องดังกล่าวได้ จึงไม่อยู่ในอ�านาจของประเทศที่รับผู้ลี้ภัยในอันที่
จะท�าการเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อมูลผ่านกระบวนการรับรองอัตลักษณทางเพศที่เกิดขึ้น
ในประเทศที่รับผู้ลี้ภัย ดังนั้น การแก้ไขข้อมูลในเอกสารต่าง ๆ จึงอาจเกิดความลักลั่น
และอาจเกิดปัญหาหากจะน�าไปใช้เพื่อประกอบการท�านิติกรรมในประเทศใหม่ เช่น
การสมรสของบุคคลนั้น เป็นต้น 209
ผลจากการส�ารวจกฎหมายรับรองเพศสภาพ ส่วนใหญ่แล้วจะก�าหนดให้บุคคล
ซึ่งมิใช่ประชากรของรัฐนั้น ๆ สามารถเข้าถึงกระบวนการรับรองเพศสภาพได้โดยง่าย
อย่างไรก็ตาม การยอมรับสิทธิดังกล่าวอาจเกิดขึ้นกับกรณี refugees แต่ส�าหรับกรณี
asylum seeker นั้นพบว่ารัฐต่าง ๆ มิได้ให้การรับรองสิทธิดังกล่าวแก่ asylum seeker
210
โดยอัตโนมัติ ดังเช่นกรณีของประเทศมอลตา ให้การรับรองสิทธิในอัตลักษณทางเพศ
แก่ refugee เท่านั้น โดยคณะกรรมการว่าด้วยผู้อพยพลี้ภัย (The Commissioner for
Refugees จะต้องบันทึกชื่อและเพศสภาพตามเจตจ�านงของ refugee ในใบค�าร้อง
asylum application form และเอกสารการคุ้มครองสิทธิ (protection certificate)
ภายใน 15 วัน
211
ในขณะที่ประเทศไอซแลนดให้การรับรองสิทธิดังกล่าวแก่บุคคลทุกคน นั่นคือ
ให้การรับรองทั้งกรณี refugees และ asylum seeker โดยบุคคลนั้นอาจยื่นค�าร้อง
เพื่อขอใบรับรองทางทะเบียน ตามมาตรา 34 ของพระราชบัญญัติว่าด้วยชาวต่างชาติ
หมายเลข 80/2016 รวมถึงขอจดทะเบียนเพื่อเปลี่ยนแปลงเพศสภาพให้สอดคล้อง
กับเพศสภาพของบุคคลนั้น แม้ว่าบุคคลนั้นจะไม่ได้มีเอกสารที่แสดงถึงอัตลักษณ
ของบุคคลที่ออกโดยประเทศถิ่นก�าเนิดก็ตาม (มาตรา 10) 212
209 Richard Köhler, Self-determination models in Europe: Practical experiences.
TGEU, 2022, p.34.
210 Richard Köhler, Self-determination models in Europe: Practical experiences.
TGEU, 2022, p.35.
211 Richard Köhler, Self-determination models in Europe: Practical experiences.
TGEU, 2022, p.36.
212 Richard Köhler, Self-determination models in Europe: Practical experiences.
TGEU, 2022, p.36.