Page 179 - kpiebook67026
P. 179

178     ผลการใช้กฎหมายรับรองเพศสภาพ : กรณีประเทศอาร์เจนตินา มอลตา และไอซ์แลนด์




                   5.1.2 ประเด็นเรื่องการบังคับใช้กฎหมายในเชิงสถิติ

                   จากข้อมูลเชิงสถิติในประเทศของสหภาพยุโรปที่ให้การรับรองอัตลักษณทาง
            เพศสภาพ พบว่า มีผู้ยื่นค�าร้องเพื่อขอรับรองเพศสภาพเพิ่มมากขึ้นภายหลังจากที่

            ประเทศเหล่านั้นประกาศให้การรับรองเพศสภาพบนพื้นฐานของการก�าหนดเจตจ�านง
            ของตนเอง โดยหากพิจารณาจากรายงานของรัฐต่าง ๆ แสดงให้เห็นว่าจ�านวนผู้มาใช้

            สิทธิยื่นค�าร้องรับรองเพศสภาพภายใต้หลักการก�าหนดเจตจ�านงตามเพศสภาพ
            ของตนเองนั้น มีปริมาณมากกว่าผู้ยื่นค�าร้องในประเทศที่มีการก�าหนดเงื่อนไขต่าง ๆ

                                    205
            เกี่ยวกับการรับรองเพศสภาพ
                   ปัญหาส�าคัญประการหนึ่งที่เกิดขึ้นในการยื่นค�าร้องเพื่อรับรองเพศสภาพของ

            บุคคล นั่นคือ ความกลัวที่จะเกิดขึ้นภายหลังจากการตัดสินใจเปลี่ยนแปลงเพศสภาพ
            ของบุคคลนั้นไปแล้ว เนื่องจากการรับรองเพศสภาพของบุคคลบนพื้นฐานของการแสดง

            เจตจ�านงทางเพศสภาพนั้น ไม่ได้ต้องการเงื่อนเวลาของการใช้ชีวิตในแบบเพศสภาพใหม่
            ว่าจะต้องใช้เวลานานเท่าใดมาเป็นปัจจัยในการพิจารณาเพื่อรับรองเพศสภาพของบุคคล

            จึงท�าให้บุคคลเหล่านั้นเกิดความหวาดกลัว หรือรู้สึกโดดเดี่ยว เกิดความกดดันจาก
            สมาชิกในครอบครัว รวมถึงความกังวลว่าจะเกิดอุปสรรคหรือความยุ่งยากในการสมัคร

            หรือหางานท�า และบางครั้งก็เป็นการยากมากที่จะด�ารงชีวิตในรูปแบบของบุคคลข้ามเพศ
            อย่างมีความสุขในสังคม แม้ว่าบุคคลนั้นจะไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงเพศสภาพตาม

            กฎหมายแล้วก็ตาม ด้วยเหตุนี้ ในบางประเทศจึงก�าหนดเรื่อง “ระยะเวลาในการรอคอย
            (waiting periods)” ส�าหรับการยื่นค�าร้องครั้งแรก รวมถึงการท�าให้การยื่นค�าร้องเพื่อ

            รับรองเพศสภาพตามเจตจ�านงของบุคคลในครั้งที่สองกระท�าได้ยากขึ้นในกรณีที่บุคคลนั้น
            อยากกลับไปใช้เพศสภาพเดิมก่อนหน้าที่ท�าการเปลี่ยนแปลง เราเรียกกระบวนการนี้ว่า

            กระบวนการป้องกันการตัดสินใจที่ผลีผลาม (rash decisions)











            205    Richard Köhler, Self-determination models in Europe: Practical experiences.
            TGEU, 2022, p.15.
   174   175   176   177   178   179   180   181   182   183   184