Page 178 - kpiebook67026
P. 178
177
อินเตอรเซ็กไว้อย่างชัดเจน ในขณะที่ประเทศไอซแลนด ซึ่งได้ประกาศใช้กฎหมายว่า
ด้วยการก�าหนดเจตจ�านงในเรื่องเพศสภาพ (Act on Gender Autonomy) เมื่อวันที่
18 มิถุนายน ค.ศ. 2019 โดยกฎหมายฉบับนื้ถือเป็นเครื่องมือส�าคัญประการหนึ่ง
ในการสร้างความเท่าเทียมระหว่างเพศที่มีความน่าสนใจและทันสมัยมากที่สุดในเวลานี้
ของโลก เนื่องจากประเทศไอซแลนดเพียงประเทศเดียวในยุโรปเท่านั้นที่น�าหลักการ
ก�าหนดเพศสภาพตามเจตจ�านงของบุคคล มาใช้ส�าหรับการรับรองอัตลักษณทางเพศ
สภาพทางกฎหมายแก่กลุ่มบุคคลนอนไบนารี่ โดยไม่มีการก�าหนดอายุขั้นต�่าของบุคคล
204
แต่อย่างใด
ภายหลังจากการมีกฎหมายรับรองเพศสภาพแก่บุคคลในประเทศแถบยุโรป
ได้พบข้อเท็จจริงว่า บุคคลข้ามเพศมีการยื่นค�าร้องเพื่อขอรับรองอัตลักษณทาง
เพศสภาพของตนจ�านวนไม่มากนัก เนื่องจากระบบกฎหมายภายในรัฐที่บุคคลข้ามเพศ
อาศัยอยู่นั้นได้ก�าหนดมาตรการทางกฎหมายที่ยังคงเป็นอุปสรรคต่อการใช้สิทธิ
ดังกล่าว อาทิ การก�าหนดให้ฝ่ายปกครองมีอ�านาจดุลพินิจในการอนุญาตเพื่อรับรอง
อัตลักษณทางเพศสภาพ ซึ่งเปิดทางให้มีการใช้อ�านาจโดยตามอ�าเภอใจ รวมถึง
การก�าหนดเงื่อนไขต่าง ๆ เพื่อให้ได้การรับรองอัตลักษณทางเพศสภาพโดยไม่เหมาะสม
หรือเป็นอุปสรรคท�าให้บุคคลไม่สามารถเข้าถึงกระบวนการรับรองอัตลักษณทางเพศ
สภาพดังกล่าวได้ และประการส�าคัญ คือ การก�าหนดให้บุคคลเหล่านั้นมีตัวเลือก
เพียงการระบุเพศว่าตนเป็นเพศชายหรือเพศหญิงเท่านั้น ปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ
เหล่านี้ส่งผลให้อย่างน้อยประชากรจ�านวน 3 ใน 4 ของบุคคลข้ามเพศ (ประมาณ
ร้อยละ 78) ที่อาศัยอยู่กลุ่มประเทศสหภาพยุโรปตัดสินใจไม่เข้าสู่กระบวนการรับรอง
อัตลักษณทางเพศสภาพในทางกฎหมาย นอกจากนั้น กลุ่มนอนไบนารี่ กลุ่มผู้เยาวและ
กลุ่มผู้อพยพซึ่งมิได้มีสัญชาติของรัฐนั้น ๆ นับว่ายังคงมีปัญหาในการเข้าถึงกระบวนการ
รับรองอัตลักษณทางเพศด้วยเช่นกัน ซึ่งมีข้อสังเกตว่า ปัญหาดังกล่าวเกิดขึ้นใน
ประเทศที่มีการตรากฎหมายรับรองอัตลักษณทางเพศสภาพที่ไม่ได้ตั้งอยู่บนพื้นฐาน
ของการก�าหนดเจตจ�านงทางเพศสภาพทั้งสิ้น
204 Richard Köhler, Self-determination models in Europe: Practical experiences.
TGEU, 2022, p.6.