Page 177 - kpiebook67026
P. 177

176     ผลการใช้กฎหมายรับรองเพศสภาพ : กรณีประเทศอาร์เจนตินา มอลตา และไอซ์แลนด์



            ของโลกและได้กลายเป็นต้นแบบในการตรากฎหมายรับรองเพศสภาพของบุคคลให้กับ
            กลุ่มประเทศแถบยุโรปในเวลาต่อมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศกลุ่มสหภาพยุโรป

            อย่างน้อยมีจ�านวน 39 ประเทศ มีกฎหมายให้การรับรองอัตลักษณทางเพศสภาพ
            แก่บุคคล อย่างไรก็ตาม กฎหมายของประเทศเหล่านี้ยังคงมีการก�าหนดเงื่อนไข

            ในการรับรองที่แตกต่างกัน กล่าวคือ มีจ�านวน 27 ประเทศ เรียกร้องให้มีการวินิจฉัย
            รับรองสุขภาพทางจิตเวช (mental health diagnosis) และอีกจ�านวน 8 ประเทศ

            บังคับให้บุคคลต้องท�าหมันก่อน นอกจากนั้นยังมีอีก 19 ประเทศ บังคับให้บุคคล
            ต้องท�าการหย่า และอีก 16 ประเทศ ให้การรับรองอัตลักษณทางเพศสภาพแก่บุคคล

            ที่เป็นผู้เยาว โดยมีเพียง 10 ประเทศเท่านั้นที่ไม่มีการก�าหนดอายุขั้นต�่าของการรับรอง
            ในกรณีผู้เยาว


                   หากพิจารณาจากประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคยุโรป พบว่ามีจ�านวน 9 ประเทศ
            เท่านั้นที่ก�าหนดเงื่อนไขเพียงการประกาศว่าบุคคลมีอัตลักษณทางเพศเป็นเช่นไร

            หรือที่เรียกว่าเป็นการรับรองอัตลักษณทางเพศสภาพของบุคคลโดยตั้งอยู่บนพื้นฐาน
            ของการก�าหนดเจตจ�านงโดยตนเอง (Self-determination) ซึ่งหมายถึง การก�าหนด

            เจตจ�านงของบุคคลโดยไม่ขึ้นกับบุคคลที่สาม เช่น ศาล นักจิตวิทยา นักจิตแพทย
            ผู้ให้บริการทางการแพทย หรือผู้แทนโดยชอบธรรม รวมถึง กระบวนการพิสูจน

            หรือการรักษาในทางการแพทยที่ไม่จ�าเป็นด้วย ในการเปลี่ยนแปลงเพศ รวมถึง
            เพศและเพศสภาพในทางกฎหมาย (legal sex and gender) ต้องตั้งอยู่บนพื้นฐาน

            การประกาศตนเองของบุคคลนั้น (self-declaration of the concerned person)
            ส�าหรับการให้ค�าจ�ากัดความของค�าว่า Self-determination ต้องกระท�าผ่านกระบวนการ

            ทางปกครอง ซึ่งตรงข้ามกับกระบวนการในทางศาล โดยจะต้องด�าเนินการให้รวดเร็ว
            เข้าถึงได้ง่ายและโปร่งใสตรวจสอบได้


                   โดยประเทศมอลตาและประเทศไอซแลนดนับว่าเป็นประเทศที่ให้การรับรอง
            เพศสภาพตามหลักการดังกล่าวด้วยเช่นกัน ส�าหรับประเทศมอลตาได้ตรากฎหมาย

            ว่าด้วยอัตลักษณทางเพศ การแสดงออกทางเพศ และคุณลักษณะทางเพศ (The Gender
            Identity, Gender Expression and Sex Characteristics Act 2015) ก�าหนด

            รายละเอียดเกี่ยวกับการรับรองสิทธิในอัตลักษณทางเพศ รวมถึงก�าหนดกระบวนการ
            ขั้นตอนเกี่ยวกับการรับรองอัตลักษณทางเพศของกลุ่มบุคคลข้ามเพศ และบุคคล
   172   173   174   175   176   177   178   179   180   181   182