Page 180 - kpiebook67026
P. 180

179




                     5.1.3 ประเด็นเรื่องการใช้สิทธิและข้อจ�ากัดการใช้สิทธิ
                     ภายใต้กฎหมายรับรองเพศสภาพ

                      ผลจากการศึกษาพบว่า การได้รับสิทธิตามกฎหมายรับรองเพศสภาพของ

               แต่ละประเทศยังคงมีข้อจ�ากัดแตกต่างกันไป เช่น ข้อจ�ากัดเกี่ยวกับการบังคับใช้สิทธิ
               ในการก�าหนดเจตจ�านงของตนเองซึ่งมีประเด็นว่าบุคคลจะสามารถใช้สิทธิในการก�าหนด

               เพศสภาพตามเจตจ�านงของตนเองได้กี่ครั้ง และสามารถกระท�าได้ตลอดชีวิตหรือไม่
               และการพิจารณาส�าหรับการยื่นค�าร้องในครั้งที่สองจะได้รับการพิจารณาโดยองคกรใด

               ซึ่งทางปฏิบัติของต่างประเทศยังคงมีความแตกต่างกัน เช่น ในประเทศอารเจนตินา
               กระบวนการยื่นค�าร้องในครั้งที่สอง และผลการพิจารณาย่อมขึ้นกับองคกรตุลาการ

               ในขณะที่ประเทศมอลตา กรณีที่บุคคลมีความประสงคจะเปลี่ยนแปลงข้อมูลเพศ
               ในใบสูติบัตรใหม่อีกครั้งหลังจากที่มีการยื่นค�าร้องเพื่อขอเปลี่ยนแปลงเพศตามกฎหมาย

               ฉบับนี้ไปแล้ว ย่อมสามารถกระท�าได้อีกเพียงครั้งเดียวโดยอาศัยค�าสั่งจากศาลเท่านั้น
               ส่วนประเทศไอซแลนดการจดทะเบียนเพื่อเปลี่ยนแปลงเพศสภาพตามกฎหมายฉบับนี้

               พร้อมกับการเปลี่ยนชื่อตัวจะได้รับการอนุญาตเพียงครั้งเดียว เว้นเสียแต่ว่าจะเหตุผล
               อันชอบธรรมอันเกิดจากสถานการณพิเศษ โดยบุคคลนั้นอาจยื่นค�าร้องขอเปลี่ยนแปลง

               การจดทะเบียนเพศสภาพครั้งใหม่โดยท�าเป็นหนังสือยื่นต่อนายทะเบียนเพื่อพิจารณา
               เหตุผลตามค�าร้องขอนั้น


                      นอกจากนั้น ผลจากการส�ารวจพบว่า ในทุกประเทศของสหภาพยุโรป
               ที่มีการรับรองอัตลักษณทางเพศสภาพ ไม่ปรากฏรายงานว่ามีผู้ใช้สิทธิโดยไม่สุจริต

               หรือมีเจตนากระท�าความผิดในทางอาญา และยังพบว่าประเทศที่ให้การรับรองเพศสภาพ
               บนพื้นฐานของการก�าหนดเจตจ�านงของตนเองนั้นยังมีมาตรฐานในการคุ้มครองสิทธิ

               ของสตรี และสร้างหลักประกันในความเท่าเทียมระหว่างเพศในระดับสูง ซึ่งการปรากฏ
               ถึงหลักฐานของการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตหรือมีเจตนากระท�าความผิดในทางอาญา

               ดังกล่าวนี้เอง ย่อมเป็นข้อสนับสนุนได้อย่างดีว่า การก�าหนดเพศสภาพตามเจตจ�านง
               ของบุคคลนั้นไม่ได้เป็นการเบียดบัง หรือเป็นภัยต่อพื้นที่สตรีและยังเป็นการสนับสนุน

               สร้างความเท่าเทียมระหว่างเพศให้เกิดขึ้นภายในรัฐอีกด้วย
   175   176   177   178   179   180   181   182   183   184   185