Page 181 - kpiebook67026
P. 181

180     ผลการใช้กฎหมายรับรองเพศสภาพ : กรณีประเทศอาร์เจนตินา มอลตา และไอซ์แลนด์




                   5.1.4 ประเด็นปั ญหาการใช้สิทธิเฉพาะกลุ่มบุคคล
                   5.1.4.1 ประเด็นเรื่องกลุ่มนอนไบนารี่


                   ส�าหรับกลุ่มนอนไบนารี่ ถือเป็นกลุ่มบุคคลอีกกลุ่มหนึ่งที่ได้เกิดขึ้นและ

            มีพัฒนาการอย่างรวดเร็วท่ามกลางประชากรซึ่งเป็นบุคคลข้ามเพศ ซึ่งในประเทศต่าง ๆ
            ยังคงไม่ให้การรับรองเพศสภาพแก่บุคคลกลุ่มนี้ กล่าวได้ว่า กลุ่มนอนไบนารี่ คือ

            กลุ่มบุคคลที่ไม่อาจเข้าถึงกระบวนการรับรองเพศสภาพตามกฎหมายของรัฐได้ในทาง
            ปฏิบัติของรัฐที่ให้การรับรองเพศสภาพของกลุ่มนอนไบนารี่นั้น พบว่ามีการใช้ค�าว่า

            “เพศสภาพที่เป็นกลาง (gender neutral)” หรือค�าว่า “เพศที่สาม (third gender)”
            เพื่อเป็นทางเลือกในการรับรองเพศสภาพให้แก่กลุ่มนอนไบนารี่ ซึ่งจะเห็นได้ว่า

            เป็นมาตรการที่น่าสนใจในอันที่จะท�าให้กลุ่มนอนไบนารี่ได้รับการรับรองเพศสภาพ
            ในทางกฎหมาย จากการส�ารวจขององคกรด้านการคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐานในกลุ่ม

            ประเทศสหภาพยุโรป (The EU Fundamental Rights Agency) พบว่ากว่าร้อยละ 17
            ของกลุ่มนอนไบนารี่ และกว่าร้อยละ 13 ของกลุ่มบุคคลข้ามเพศประสงคจะเข้าสู่

            กระบวนการรับรองเพศสภาพทางกฎหมายในอนาคต ด้วยเหตุนี้ การรับรองเพศสภาพ
            ตามเจตจ�านงของบุคคลจึงถือว่าเป็นมาตรการทางกฎหมายที่ส�าคัญในอันที่จะท�าให้

            การรับรองเพศสภาพได้รับการแก้ไขให้มีความก้าวหน้ายิ่งขึ้นจากการระบุเพศสภาพ
            ในรูปแบบเดิมที่สามารถกระท�าได้ภายใต้ระบบสองเพศเท่านั้น
                                                              206

                   ในทางวิชาการได้มีข้อเสนอแนะแก่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งยุโรปว่า
            คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งยุโรป (European Commission) ควรอ�านวย

            ด�าเนินการต่าง ๆ เพื่อความสะดวกให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางปฏิบัติที่ดีเกี่ยวกับ
            เรื่องดังกล่าวระหว่างประเทศสมาชิกในสหภาพยุโรป และท�าการศึกษาวิจัยผลกระทบ

            จากการบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับการรับรองเพศที่สามหรือการรับรองเพศสภาพของ
            กลุ่มนอนไบนารี่ รวมถึงประเด็นเรื่องการขจัดเครื่องหมายระบุเพศ (gender marker)

            ออกไปจากเอกสารที่มีการระบุอัตลักษณทางเพศของบุคคล รวมทั้งให้มีการจัดประชุม
            แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณระหว่างประเทศสมาชิกเพื่อเตรียมตัวเข้าสู่การบังคับใช้




            206    Richard Köhler, Self-determination models in Europe: Practical experiences.
            TGEU, 2022, p.27.
   176   177   178   179   180   181   182   183   184   185   186