Page 438 - kpiebook67020
P. 438
437
2. ผลกระทบของปัญหา
ปัญหากรณีความอยุติธรรมทางสิ่งแวดล้อมทั้งสามกรณีก่อให้เกิดผลร่วมกัน
ต่อสังคมไทยโดยรวมอย่างน้อย 6 ประการ ได้แก่ การรวมตัวของภาคประชาชน ภาระ
ในการบริหารจัดการภาครัฐเพิ่มมากขึ้น ความขัดแย้งของคนในสังคม การเปลี่ยนแปลง
วิถีชีวิตที่ท�าให้เกิดความเหลื่อมล�้ามากขึ้น ผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมเศรษฐกิจและ
สังคม และความไม่สอดคล้องกับวาระนานาชาติ ดังนี้
การรวมตัวของภาคประชาชน
ผลจากกรณีปัญหาที่เกิดขึ้น ท�าให้เห็นชัดเจนว่าเมื่อประชาชนได้รับผลกระทบ
ต่อการด�ารงชีวิตของเขา เป็นการกดดันอย่างหนึ่งท�าให้ภาคประชาชนต้องแสดงออก
เพื่อเรียกร้องสิทธิในหลายรูปแบบ เช่น การประท้วง หรือการยื่นหนังสือร้องเรียน
ดังกรณีการต่อสู้ของชาวบ้านปากมูลตั้งแต่ก่อนสร้างไปจนช่วงหลังก่อสร้างเขื่อน
ท�าให้เกิดการต่อสู้ของประชาชนในนาม “สมัชชาคนจน” อย่างเป็นทางการในวันที่
10 ธันวาคม 2538 ซึ่งกลายเป็นที่รวมเครือข่ายชาวบ้านยากจนที่ได้รับผลกระทบ
จากโครงการพัฒนาอื่น ๆ ของรัฐ ในเรื่องการแย่งชิงทรัพยากรธรรมชาติ เขื่อน ป่าไม้
ที่ดิน นโยบาย กฎหมาย โครงการพัฒนาของรัฐ เป็นต้น ประเด็นการต่อสู้หลัก
ของสมัชชาคนจน ได้แก่ การเรียกร้องสิทธิและผลประโยชน์ทางทรัพยากรในกรณีที่
ถูกละเมิดจากรัฐหรือเอกชน และการเรียกร้องสิทธิในที่ดินท�ากิน (อภิญญา ดิสสะมาน,
2555, น.190) หรือการมีข่าวว่าจะมีการก่อสร้างโรงไฟฟ้าจะนะ ก็ท�าให้ชาวบ้าน
ที่ไม่เห็นด้วยต้องออกมารวมตัวกันคัดค้าน อย่างไรก็ดี การด�าเนินนโยบายเพื่อ
การพัฒนาของรัฐแน่นอนว่ามีคนบางกลุ่มได้ประโยชน์และบางกลุ่มเสียประโยชน์
ท�าให้ผลจากการพัฒนานี้น�าไปสู่ความขัดแย้งของคนในสังคมตามมาอีกด้วย