Page 75 - kpiebook66032
P. 75
ที่เดิม หรือย้ายไปที่ใหม่ คนมาคิดแต่จะย้าย พอไม่ให้ย้ายใจก็ไม่อยู่ นี่คือจุดอ่อนของท้องถิ่น
ไทย ที่ส่งผลทำให้งานขาดความต่อเนื่อง 53
ประการที่สองคือ การตีโจทย์งานของคนท้องถิ่น เพราะงานที่เป็นการพัฒนาคุณภาพ
ชีวิตของประชาชน ตามความเข้าใจของบุคลากรท้องถิ่นจะมองว่าเป็นงานของสาธารณสุข
แต่ในความเป็นจริง เรื่องของคุณภาพชีวิตต้องอาศัยการพัฒนาจากทุก ๆ มิติที่ต้องเติมเต็ม
ที่สำคัญคือ บุคลากรของท้องถิ่นมิใช่ทีมสหวิชาชีพเรื่องสุขภาพ เวลาเราพูดเรื่องสุขภาพมันจะ
เป็นเรื่องยากของเขา ท้องถิ่นในโลกยุควูก้า (VUCA WORLD)
ประการสุดท้าย คือ บุคลากรของท้องถิ่นยังขาดองค์ความรู้ในเรื่องการปรับสภาพ
แวดล้อมที่เหมาะสมของผู้พิการ ทางองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลาจึงพยายามหาเครือข่าย
เพื่อเพิ่มเติมองค์ความรู้ในเรื่องเหล่านี้ ดังที่ผู้ให้ข้อมูลได้สะท้อนไว้ว่า
“ปัญหาโดยแท้จริงไม่ใช่เรื่องงบประมาณ ปัญหาคือส่วนช่างท้องถิ่น
ไม่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปรับที่อยู่อาศัยและสภาพแวดล้อมของผู้พิการ
ทาง อบจ. จึงต้องจัดอบรมให้กับส่วนช่าง ช่วยเขียนโครงการให้ จัดหานักกายภาพ
บำบัดมาทำงานประกบ เพื่อให้แน่ใจว่าจะตอบโจทย์ในเรื่องของการใช้งานได้
สุดท้ายคือ ให้ทั้งคำแนะนำ และโอนงบประมาณให้” 54
4) การทำความเข้าใจกับเครือข่ายภาคเอกชน
การสร้างความร่วมมือระหว่างศูนย์ซ่อมสร้างสุขชุมชนกับภาคเอกชน ก็ถือเป็น
ความท้าทายไม่น้อย ทั้งนี้เพราะภาคเอกชนสามารถจ้างงานผู้พิการเพื่อให้มาทำงานที่ศูนย์
ซ่อมสร้างสุขชุมชน โดยสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เป็นผู้รับผิดชอบหลัก ส่วนที่ บันทึกเรื่องเด่น
ในเรื่องของการจ้างงานผู้พิการตามมาตรา 33 และ 35 กล่าวคือ สถานประกอบการที่มีจำนวน
1,000 คน ต้องมีการจ้างงานผู้พิการ 1 คน ทาง องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลาจึงได้เสนอ
แนวทางการสนับสนุนแก่สถานประกอบการว่ามีโครงการให้ผู้พิการทำงานที่ศูนย์ซ่อมฯ
แต่คุณสมบัติคือ ต้องผ่านการอบรม ได้รับใบ Certification มาก่อน โดยต้องมีการค้นหา
ผู้พิการที่อยู่ในบริเวณพื้นที่ที่สถานประกอบการนั้นตั้งอยู่หรือบริเวณใกล้เคียง
53 Personal communication, 31 พฤษภาคม 2566.
54 Personal communication, 10 มกราคม 2566.
สถาบันพระปกเกล้า