Page 72 - kpiebook66032
P. 72
3) จากขยะที่ไร้ค่า กลายเป็นสิ่งมีค่า
อุปกรณ์เครื่องช่วยความพิการที่ชำรุดได้รับการซ่อมบำรุง ทำให้มีอุปกรณ์เครื่องช่วย
ความพิการในระบบการยืม-คืน หมุนเวียนเพิ่มขึ้น ลดปัญหาขยะที่เกิดจากการทิ้งกายอุปกรณ์
ท้องถิ่นในโลกยุควูก้า (VUCA WORLD) การจัดการที่รวดเร็วขึ้นและเป็นระบบมากขึ้น สิ่งที่ได้ดำเนินการไป ก็สามารถแก้ปัญหาและ
ที่เสื่อมสภาพชำรุด
47
4) ผลตอบรับที่เหมือนเป็นพลังใจให้กับคนทำงาน
ผลตอบรับของภาคีเครือข่ายต่อการดำเนินงาน พบว่า เครือข่ายมั่นใจว่าทำให้มี
ตอบโจทย์ในพื้นที่ได้จริง ดังที่ทางเจ้าหน้าที่ ได้สะท้อนว่า
“ไม่ต้องใช้จำนวนคนเยอะ เน้นการใช้ภาคีเครือข่าย รับผิดชอบตามอำนาจ
หน้าที่ของตนเอง และไม่ได้เป็นการเพิ่มงานให้พวกเขา ของที่รอซ่อมที่ตั้งอยู่ใต้ถุน
ใต้บันไดของอาคาร พม.ตอนนี้ไม่มีเหลือแล้ว เพราะทางศูนย์ซ่อมฯ ได้ซ่อม
ให้หมดแล้ว และส่งกลับให้ประชาชนในพื้นที่เพื่อแจกจ่ายคืนกลับไป ที่สำคัญคือ
ในอดีตของบริจาคที่ได้มาก็ตั้งกองไว้ ไม่มีที่จะตั้งของ และไม่มีที่ไหนรับซ่อม
แต่ตอนนี้ไม่มีปัญหาเหล่านั้นแล้ว” 48
พร้อมขยายผล เพราะงานดี ๆ ต้องมีต่อยอด
ในการขยายผลและเพื่อให้เกิดความยั่งยืนในการดำเนินงาน องค์การบริหารส่วนจังหวัด
ส่วนที่ บันทึกเรื่องเด่น คิด พัฒนา และสามารถต่อยอดในอนาคตต่อไปได้ โดยไม่ต้องรอนโยบายจากส่วนกลาง อะไรที่
สงขลามีแนวคิดจะให้ท้องถิ่นเข้ามาร่วมด้วย อันเนื่องมาจากจุดแข็งของท้องถิ่นคือสามารถ
เป็นประโยชน์พื้นที่ก็สามารถริเริ่มได้เลย ซึ่งท้องถิ่นก็ได้มาจับมือร่วม จึงนำไปสู่ความยั่งยืน
ในการดำเนินการต่อไป
49
ที่สำคัญคือ จุดเริ่มต้นจากศูนย์ซ่อมสร้างสุขชุมชน ก็ได้นำไปสู่การพัฒนานวัตกรรมใหม่
ได้แก่ ต่อยอดการผลิตที่นอนลมจากถุงน้ำยาล้างไต ณ ศูนย์ซ่อมสร้างสุขชุมชน วิทยาลัย
47 องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา, เอกสารประกอบการสมัครรางวัลพระปกเกล้าทองคำประจำปี 2565,
(ม.ป.ท.: ม.ป.พ., 2564).
48 Personal communication, 10 มกราคม 2566.
49 Personal communication, 10 มกราคม 2566.
สถาบันพระปกเกล้า