Page 69 - kpiebook66032
P. 69
“กายอุปกรณ์ทั้งระบบที่ชำรุดได้รับการซ่อมบำรุง โดยที่เราไม่สูญเสีย
งบประมาณในการจัดซื้อใหม่ เพราะบางอย่างแค่นอตตัวเดียว หรือล้อยาง
มันใช้งบประมาณที่ต่ำกว่า ทางศูนย์ฯ มีการเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายในการซื้อใหม่
กับการซ่อม พบว่าประหยัดไปได้เยอะ งบที่ใช้ในการจัดซื้อจากเดิมปีละ 14 ล้าน
ก็ลดลง งบในการเบิกจ่ายของกองทุนฟื้นฟูฯ ที่เมื่อก่อนต้องตั้งงบวัสดุทาง
การแพทย์ปีละ 15 ล้าน ลงมาเป็น 10 ล้าน ตอนนี้ก็ลดลงเรื่อย ๆ” 42
ประการที่หก มีการจ้างงานคนพิการตามกฎหมายการจ้างงานคนพิการ มาตรา 33 ท้องถิ่นในโลกยุควูก้า (VUCA WORLD)
(จ้างโดยสถานประกอบการ) ปฏิบัติงานที่ศูนย์ซ่อมสร้างสุขชุมชนและศูนย์ผลิตกายอุปกรณ์
จำนวน 4 ศูนย์ จำนวน 13 คน เพิ่มขึ้น 5 คน ใน พ.ศ. 2564 โดยร่วมกับศูนย์ประสาน
การจ้างงานคนพิการจังหวัดสงขลา นอกจากนี้ จำนวนบุคลากรที่เป็นจิตอาสาประจำศูนย์
ซ่อมสร้างสุขฯ ได้เพิ่มถึง 20 คน ครอบคลุมทั้ง 4 ศูนย์
ภาพที่ 17: จิตอาสาของศูนย์ซ่อมสร้างสุขชุมชนที่เป็นชาวต่างชาติ
ที่มา: องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา, เอกสารประกอบการสมัครรางวัลพระปกเกล้าทองคำประจำปี 2565, (ม.ป.ท.: ส่วนที่ บันทึกเรื่องเด่น
ม.ป.พ., 2564).
ประการที่เจ็ด จำนวนผู้บริจาค ใน พ.ศ. 2564 มีผู้บริจาคจำนวน 58 คน รายการบริจาค
จำนวน 212 ชิ้น ร่วมกับสมาคมคนพิการจังหวัดสงขลา และสมาคมอาสาสร้างสุข
42 Personal communication, 10 มกราคม 2566.
สถาบันพระปกเกล้า