Page 65 - kpiebook66032
P. 65
“เราเริ่มอบรม โดยมีอาจารย์จากสถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินทร์
จังหวัดเชียงใหม่ มาสอน โดยอบรมรุ่นละ 25 คน หลังอบรมจึงมาประจำศูนย์ฯ
จากที่สมาชิกของสมาคมคนพิการอย่างพวกเราที่เคยอยู่ในฐานะผู้รับบริการ
แต่ตอนนี้เราได้เป็นผู้ให้บริการแทน” 37
“ช่างซ่อมประจำศูนย์ฯ ซ่อมที่เป็นผู้พิการนั้น เราไม่เอาคนที่อาศัยอยู่ไกล
เราเอาผู้ที่อยู่บริเวณใกล้เคียง เช่น แถวคลองแห คลองเตย เป็นต้น ส่วนอาหาร
กลางวันของบุคลากรในศูนย์ฯ ก็ไม่ได้มีค่าใช้จ่ายที่ต้องไปหาซื้ออาหาร เพราะ ท้องถิ่นในโลกยุควูก้า (VUCA WORLD)
ในแต่ละวันเราได้รับบริจาคอาหารจากวัดคอหงส์ ที่อยู่ใกล้กับศูนย์ โดยมีจิตอาสา
ที่ช่วยงานอยู่ในศูนย์ ชื่อ พี่เอก เป็นธุระไปรับอาหารกลางวันมาให้ โดยพี่เอกไม่ได้
รับค่าตอบแทนใด ๆ” 38
กลุ่มที่สองคือ การมีผู้ประสานงานของศูนย์ซ่อมสร้างสุขชุมชน เพื่อทำหน้าที่
ประสานงานกับเครือข่าย โดยดำเนินการภายใต้ระเบียบแนวทางปฏิบัติงาน ที่สำคัญคือ
สามารถใช้ระบบโปรแกรมประจำศูนย์ซ่อมสร้างสุขชุมชนได้
“เมื่อเราตั้ง Center ในการประสานงาน ก็ต้องมีคนในการรับผิดชอบ
เรื่องนี้โดยตรง ทุกหน่วยงานก็จะวิ่งเข้า Center ทำให้ทำงานได้ง่าย ฉะนั้น
ตัวผู้ประสานงานต้องมีความชัดเจนในเรื่องต่าง ๆ แนวทาง อบจ.เราออกระเบียบ
แนวทางทุกศูนย์ฯ อาทิ แนวทางในการยืม-คืน การรับบริจาค การปฏิบัติงาน
ทั้งหมดเราต้องออกมาชัดเจน เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานซึ่งเป็นคีย์แมนของเราเดินได้
ทุกอย่างจบกันด้วยระเบียบและแนวทาง ทุกภาคส่วนรับรู้เหมือนกัน เราถอดจาก
ศูนย์ฯ นี้ไปยังทุกศูนย์ฯ แล้วขยายไปยังงานอื่น ๆ เราประกาศระเบียบแนวทาง ส่วนที่ บันทึกเรื่องเด่น
ออกแบบระบบโปรแกรม จัดอบรม เติมเต็มคนในระบบ นี่คือแนวทางที่เกิดจาก
39
การจัดตั้งศูนย์ฯ ตรงนี้”
37 Personal communication, 31 พฤษภาคม 2566.
38 Personal communication, 31 พฤษภาคม 2566.
39 Personal communication, 10 มกราคม 2566.
สถาบันพระปกเกล้า