Page 223 - kpiebook66030
P. 223

สรุปการประชุมวิชาการ   21
                                                                               สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 24
                                                                                ความท้าทายของความมั่นคงใหม่กับประชาธิปไตย


             ในทวีปยุโรปกับประเทศฝรั่งเศสและเยอรมนี และถือว่าเป็นการท้าทายกฎเกณฑ์ต่างๆ
             ของสหภาพยุโรป สิ่งนี้ผู้เขียนมองว่าเป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นได้อย่างชัดเจนของการแข่งขันและ
             การเปลี่ยนแปลงของภูมิรัฐศาสตร์ในปัจจุบัน


                   จากเหตุการณ์ที่ได้กล่าวมาในข้างต้นสามารถนำมาวิเคราะห์ร่วมกับแนวคิดของ
             Oliver Turner ที่ได้กล่าวถึงแนวคิด ‘Global Britain’ ในบริบทของ ‘The Narrative of Empire’
             หมายถึง รัฐบาลจะใช้หลักการและวิธีการดำเนินการระหว่างประเทศเมื่อครั้งที่สหราชอาณาจักร
             เป็นจักรวรรดิบริติช (The British Empire) ดังนั้นบทบาทของสหราชอาณาจักรในเหตุการณ์
             สงครามรัสเซีย-ยูเครน จะเข้าไปให้ความช่วยเหลือทั้งระยะสั้นและระยะยาวและจะก่อให้เกิด

             ความพึ่งพิงทางเศรษฐกิจและมนุษยธรรม อีกทั้งแนวคิดนี้ได้สอดคล้องกับแนวคิด
             ‘gentlemanly capitalism’ ของ Cain and Hopkins ในปี ค.ศ. 1980 กล่าวไว้ว่ารัฐบาล
             มหาอำนาจจะเข้าไปช่วยเหลือหรือแทรกแซงในเหตุการณ์วิกฤตของประเทศชายขอบ

             (Periphery Countries) เพื่อเข้าไปมีอิทธิพลและขยายบทบาทความเป็นมหาอำนาจต่อไป
             อาจจะกล่าวได้ว่า ประเทศยูเครนจึงอาจเปรียบเสมือนประตูเปิดทางให้สหราชอาณาจักร
             กลับเข้าไปมีบทบาทในภูมิภาคยุโรปอีกครั้งในมิติด้านความมั่นคงทางการทหารและเศรษฐกิจ
             กล่าวโดยสรุป สหราชอาณาจักรกับบทบาทการเป็นผู้นำประชาธิปไตยผ่านสงครามรัสเซีย-
             ยูเครน ถือได้ว่าเป็นโอกาสที่ดีที่รัฐบาลอาจจะสามารถแสดงให้เห็นถึงความหมายของ

             แนวความคิด ‘Global Britain’ ในบริบทที่มีความสำคัญต่อความมั่นคงทางการทหารเพื่อที่จะ
             ส่งเสริมและรักษาบทบาทของสหราชอาณาจักรในภูมิภาคยุโรปต่อไปในอนาคตแม้ว่าจะไม่ได้
             เป็นหนึ่งในประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปแล้วก็ตาม


             2.  การมุ่งขยายอิทธิพลของสหราชอาณาจักรด้านความมั่นคง
                   ทางการทหารและเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก

                   ภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (Indo-Pacific) เป็นกระแสการเมืองของโลกใหม่ในช่วง 10 ปี

             ที่ผ่านมาแทนที่คำว่าเอเชีย-แปซิฟิก (Asia-Pacific) นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560 ภูมิภาคเอเชีย-
             แปซิฟิก ถือได้ว่าเป็นภูมิภาคที่สำคัญของการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์ใหม่ ดังนั้นภูมิภาคนี้
             จึงกลายเป็นจุดยุทธศาสต์ที่สำคัญของประเทศต่างๆ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา กลุ่มประเทศยุโรป
             ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น และกลุ่มประเทศอาเซียน รวมทั้งสหราชอาณาจักร (จิตติภัทร พูนขำ,

             2564) รัฐบาลสหราชอาณาจักรได้มุ่งเน้นการพัฒนากรอบความร่วมมือและการสร้างพันธมิตร
             ในทุกรูปแบบภายใต้แนวคิด ‘Global Britain’ ที่ได้ระบุและประกาศไว้อย่างเป็นทางการ
             ในเอกสาร The Integrated Review ในเดือนมีนาคมปีที่ผ่านมา และได้เน้นย้ำถึงการเสริมสร้าง
             ความร่วมมือในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ในมิติด้านเศรษฐกิจ ความมั่นคง และวัฒนธรรม

             มีนัยสำคัญเพื่อเป็นการท้าทายการผงาดขึ้นมามีอำนาจทางเศรษฐกิจโลกและความมั่นคงของ
             รัฐบาลจีน (Smidak, 2021) ในบทความนี้ผู้เขียนได้นำเสนอกรอบความร่วมมือใหม่ของ               บทความที่ผ่านการพิจารณา
             สหราชอาณาจักรต่อประเทศพันธมิตรต่างๆ ในด้านความมั่นคงทางการทหารและเศรษฐกิจ
   218   219   220   221   222   223   224   225   226   227   228