Page 221 - kpiebook66030
P. 221
สรุปการประชุมวิชาการ 211
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 24
ความท้าทายของความมั่นคงใหม่กับประชาธิปไตย
อย่างไรก็ตาม รัฐบาลสหราชอาณาจักรยังคงมุ่งหน้านำเสนอและใช้แนวคิด ‘Global Britain’
ในนโยบายต่างประเทศใหม่ภายหลังที่ออกจากการเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปอย่างเป็นทางการ
ในปี พ.ศ. 2563 และในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2564 รัฐบาลได้ประกาศหลักการการดำเนิน
นโยบายต่างประเทศในเอกสารที่มีชื่อว่า ‘The Integrated Review: Global Britain in a
Competitive Age’ มุ่งเน้นการอธิบาย วิธีการดำเนินนโยบายต่างประเทศและเป้าหมายของ
สหราชอาณาจักรใหม่ภายใต้ ‘Global Britain’ การกลับมาสู่ความอิสระภายใต้อำนาจอธิปไตย
และอัตลักษณ์ของสหราชอาณาจักร หรือแนวคิดที่เรียกว่า ‘taking back control’ (Gamble,
2018) รัฐบาลจึงได้มีเป้าหมายและวิสัยทัศน์ในการแข่งขันและพัฒนาความร่วมมือด้านการค้า
และการลงทุนไปทั่วโลก มุ่งให้ความสำคัญกับโลกฝั่งตะวันออกเพื่อการขยายอิทธิพลมาใน
ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก อย่างไรก็ตามสหราชอาณาจักรก็จะยังไม่ตัดความสัมพันธ์กับ
ประเทศต่างๆ ในยุโรป พร้อมที่จะให้ความร่วมมือและสนับสนุนในด้านต่างๆ โดยเฉพาะ
อย่างยิ่งด้านเศรษฐกิจและความมั่นคง (Daddow, 2019; The Integrated review, 2021)
ถึงแม้ว่าแนวคิด ‘Global Britain’ จะยังคงเป็นที่ถกเถียงในหมู่นักวิชาการจำนวนมาก ในการให้
ความหมายและวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนในรัฐบาลสหราชอาณาจักรภายหลังการออกจากการเป็น
ประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปหรืออียู ภายใต้วัตถุประสงค์ของบทความนี้ ผู้เขียนได้ทำการศึกษา
ผ่านเอกสารปฐมภูมิและทุติยภูมิ ได้แก่ เอกสารทางการจากรัฐบาล สุนทรพจน์ของ
นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีในหลายตำแหน่ง งานวิจัยและบทความวิชาการที่ได้ศึกษานโยบาย
ต่างประเทศของสหราชอาณาจักรในช่วงหลังจากการออกจากการเป็นประเทศสมาชิกอียู
ผู้เขียนได้ค้นพบว่า บทบาทของสหราชอาณาจักรและนโยบายต่างประเทศจะยังคงดำเนินต่อไป
ภายใต้แนวคิดความเป็นใหญ่ของโลก หรือ global approach ที่รัฐบาลได้ใช้เป็นหลักการสำคัญ
ในการดำเนินนโยบายต่างประเทศของรัฐบาลสหราชอาณาจักรมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่สิ้นสุด
สงครามโลกครั้งที่ 2 โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้ความยิ่งใหญ่ในอดีตในสมัยที่สหราชอาณาจักร
อยู่ในบทบาทของจักรวรรดิบริติช (British Empire) เพื่อนำกลับเข้ามาแสวงหาผลประโยชน์
แห่งชาติต่อไป หนึ่งในบทบาทของสหราชอาณาจักรในปัจจุบันภายใต้แนวคิด ‘Global Britain’
คือ การให้ความสำคัญแก่ผลประโยชน์แห่งชาติ ผ่านบทบาทผู้นำในการสนับสนุนรัฐบาล
ประชาธิปไตยและพร้อมที่จะเผชิญหน้าและต่อต้านระบอบอำนาจนิยม (Their, 2021) ผู้เขียน
ได้เลือก 3 เหตุการณ์สำคัญที่สามารถแสดงให้เห็นถึงบทบาทของรัฐบาลสหราชอาณาจักร
ในการแข่งขันภูมิรัฐศาสตร์ใหม่ในปัจจุบัน ได้แก่ 1) บทบาทของรัฐบาลสหราชอาณาจักร
ในภูมิภาคยุโรป ผ่านสงครามรัสเซีย-ยูเครน 2) การมุ่งขยายอิทธิพลของสหราชอาณาจักร
ด้านความมั่นคงทางการทหารและเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกในกรอบความร่วมมือ
‘AUKUS’ และ the Comprehensive and Progressive Agreement for Trans-Pacific
Partnership or CPTPP บทความที่ผ่านการพิจารณา