Page 224 - kpiebook66030
P. 224
สรุปการประชุมวิชาการ
21 สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 24
ความท้าทายของความมั่นคงใหม่กับประชาธิปไตย
เพื่อเป็นการชี้ให้เห็นถึงการแข่งขันในภูมิรัฐศาสตร์ใหม่ภายใต้รัฐบาลประชาธิปไตย ที่สะท้อน
ให้เห็นผ่านทางนโยบายต่างประเทศใหม่ของสหราชอาณาจักรที่ได้ใช้แนวคิด ‘Global Britain’
ในการสร้างอิทธิพลและอำนาจใหม่ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกภายหลังที่ถอนตัวออกจากการเป็น
ประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปหรืออียู
2.1 ความร่วมมือด้านการทหารกับสหรัฐอเมริกาและออสเตรเลีย หรือกลุ่มพันธมิตร
ด้านความมั่นคงไตรภาคีที่มีชื่อว่า “AUKUS”
บทบาทของสหราชอาณาจักรผ่านทางความร่วมมือ “AUKUS” โดยชื่อมาจาก
ตัวอักษรของ 3 ประเทศพันธมิตรรวมกัน ได้แก่ ออสเตรเลีย (Australia) สหราชอาณาจักร
(The United Kingdom) และ สหรัฐอเมริกา (The United States) (Barnes & Hills, 2022)
ความร่วมมือนี้ถือว่าเป็นประตูสำคัญที่แสดงให้เห็นถึงการขยายอิทธิพลของสหราชอาณาจักร
ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ซึ่งเป็นหลักการหรือนโยบายต่างประเทศในรูปแบบใหม่ภายใต้แนวคิด
‘Global Britain’ และในขณะเดียวกันสหราชอาณาจักรก็ได้กลับมาร่วมมือกับพันธมิตรเก่า
ที่ได้มีความผูกพันการในประวัติศาสตร์ ภาษา และวัฒนธรรม หรือที่รู้จักกันในกลุ่มประเทศ
ที่ใช้ภาษาอังกฤษ (English Speaking) หรือกลุ่ม Anglosphere ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงการอาจ
กลับมาใช้รูปแบบ นโยบาย และกลุ่มประเทศพันธมิตรเดิมก่อนยุคจักรวรรดิบริติช (British
Empire) ที่ได้ล่มสลายไปในต้นศตวรรษที่ 19 และก่อนที่จักรวรรดิจะเกิดความอ่อนแอทางด้าน
การทหารและการค้าภายหลังวิกฤตการณ์คลองสุเอซในปี ค.ศ.1956 (Suez Crisis) (Gamble,
1985; Lee, 1966; Darwin, 2011) สอดคล้องกับแนวคิดของ Oliver Turner ในบริบทของ
‘The Narrative of Empire’
ความร่วมมือด้านการทหารกับสหรัฐอเมริกาและออสเตรเลีย หรือกลุ่มพันธมิตร
ด้านความมั่นคงไตรภาคี หรือ “AUKUS” ได้มีการจัดตั้งขึ้นในเดือนกันยายนปี พ.ศ. 2564
เป็นความร่วมมือด้านกลาโหมของ 3 ประเทศมหาอำนาจประชาธิปไตย ได้แก่ สหรัฐอเมริกา
ออสเตรเลีย และสหราชอาณาจักร ซึ่งข้อตกลงนี้จะมุ่งเน้นในด้านของการแลกเปลี่ยน
เทคโนโลยีและการเข้าไปช่วยเหลือประเทศออสเตรเลียในการสร้างเรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์
จำนวนทั้งสิ้นรวม 8 ลำ ซึ่งถือได้ว่าเป็นการรวมกลุ่มทางด้านความมั่นคงทางการทหารที่ใหญ่
และเป็นที่จับตามองภายหลังจากการสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 และสงครามเย็น นักวิชาการ
ทั่วโลกได้มีการเขียนวิเคราะห์วัตถุประสงค์ของการรวมตัวของพัธมิตรของทั้ง 3 ประเทศนี้
โดยส่วนใหญ่เห็นตรงกันว่า “AUKUS” เกิดขึ้นเพื่อที่จะเป็นเครื่องมือในการคานอำนาจและ
บทความที่ผ่านการพิจารณา ทั้งสามประเทศจะยืนยันว่า “AUKUS” เป็นความร่วมมือเพื่อส่งเสริมสันติภาพและเสถียรภาพ
ท้าทายโดยตรงจากจีนในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก แม้ว่าในเอกสารความร่วมมือและในการประกาศ
ในภิมภาคเอเชีย-แปซิฟิกในระยะยาวและถือเป็นยุทธศาสตร์ข้ามชาติ (Regional Strategy)
ที่ประเทศสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักรพร้อมและเต็มที่ที่จะส่งเสริมด้านความมั่นคง
ในระบอบประชาธิปไตยและปกป้องภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก จากการผงาดขึ้นมามีอำนาจของจีน