Page 222 - kpiebook66030
P. 222
สรุปการประชุมวิชาการ
212 สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 24
ความท้าทายของความมั่นคงใหม่กับประชาธิปไตย
1. บทบาทของรัฐบาลสหราชอาณาจักรในภูมิภาคยุโรป
ผ่านสงครามรัสเซีย-ยูเครน
ภาพที่ประจักษ์แก่สายตาประชาชนทั่วโลกเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา เมื่อประธานาธิบดี
ยูเครน นายโวโลดิมียร์ เซเลนสกี ได้ต้อนรับการมาเยือนอย่างเป็นทางการของนายบอริส
จอห์นสัน นายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร ถือว่าเป็นการเยือนครั้งแรกของผู้นำ
โลกประชาธิปไตยที่มาจากทวีปยุโรป นักวิชาการหรือสำนักข่าวบางแห่งได้มีการเปรียบเทียบว่า
รัฐบาลสหราชอาณาจักรได้เดินทางมาเยือนยูเครนก่อนที่สองประเทศผู้นำของสหภาพยุโรป
ได้แก่ นายเอ็มมานูเอล มาครง ประธานาธิบดีฝรั่งเศส และนายโอลาฟ ชอลซ์ นายกรัฐมนตรี
คนใหม่ของเยอรมนี ที่ยังไม่มีสัญญาณใดๆว่าจะมีการเยือนประเทศยูเครน จากเหตุการณ์นี้
สะท้อนให้เห็นนัยยะทางการแข่งขันภูมิรัฐศาสตร์ใหม่ของสหราชอาณาจักรที่ได้มีการแข่งขันกับ
กลุ่มประเทศผู้นำสหภาพยุโรป โดยรัฐบาลอังกฤษได้แสดงตนอย่างชัดเจนในการกลับมา
มีบทบาททางด้านความมั่นคงการทหารในยุโรปอีกครั้ง ภายหลังที่ได้ถอนตัวออกจากการเป็น
ประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปอย่างเป็นทางการเมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา โดยรัฐบาลของนายบอริส
ได้ตั้งเป้าหมายที่ชัดเจนว่า สหราชอาณาจักรจะเป็นผู้นำในการเผชิญหน้ากับความก้าวร้าว
ความรุนแรงในการใช้อำนาจของรัฐบาลรัสเซียต่อสงครามรัสเซีย-ยูเครน และที่สำคัญรัฐบาล
มีความต้องการที่จะกลับมาสร้างอิทธิพลด้านความมั่นคงและแสนยานุภาพทางการทหาร
ในภูมิภาคยุโรปอีกครั้งภายใต้แนวคิด ‘Global Britain’ (Tisdall, 2022) สิ่งที่เป็นปัจจัยสำคัญ
ที่กระตุ้นให้สหราชอาณาจักรเข้าไปมีบทบาทในสงครามรัสเซีย-ยูเครน ซึ่งถือว่าเป็นสงคราม
ครั้งยิ่งใหญ่ในยุโรปหลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ในปี ค.ศ. 1945 คือ ปัจจัยแรก ได้แก่
สหราชอาณาจักรมองว่าสงครามรัสเซีย-ยูเครนในครั้งนี้เป็นสัญลักษณ์ของการต่อสู้ระหว่าง
ระบอบประชาธิปไตยและระบอบอำนาจนิยมทั่วโลก ดังนั้นสหราชอาณาจักรจึงเข้าไปมีบทบาท
ผ่านความสัมพันธ์พิเศษระหว่างสหราชอาณาจักรและสหรัฐอเมริกา (The US-UK Special
Relationship) ภูมิหลังและประวัติศาสตร์ของทั้งสองประเทศที่มีความผูกพันกันในด้าน
ความมั่นคงทางการทหาร ทำให้รัฐบาลสหราชอาณาจักรเป็นหนึ่งในผู้นำองค์การสนธิสัญญา
แอตแลนติกเหนือ (North Atlantic Treaty Organisation: NATO) หรือที่รู้จักกันในนาม
องค์การนาโต ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการก่อตั้งและดำเนินนโยบายความร่วมมือทางการเมืองและ
การทหารของประเทศค่ายเสรีประชาธิปไตยเพื่อต่อต้านคอมมิวนิสต์และอำนาจนิยม (Foerster
& Raymond, 2017) ปัจจัยที่สอง ได้แก่ นโยบายต่างประเทศของสหราชอาณาจักรหลังจาก
ออกจากการเป็นประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป รัฐบาลมีความต้องการที่จะขยายอิทธิพลและ
บทความที่ผ่านการพิจารณา สหราชอาณาจักรจึงเข้าไปมีบทบาทในสถานการณ์โลกที่สำคัญซึ่งได้แก่สงครามรัสเซีย-ยูเครน
รักษาบทบาทของประเทศในฐานะ ‘Great Power’ ในบริบทของเวทีโลก (Morris, 2020)
ที่ยืดเยื้อมานานกว่า 6 เดือน เพื่อยังคงรักษาความเป็นผู้นำในด้านโลกประชาธิปไตยแม้ว่า
การเมืองภายในประเทศจะมีปัญหาเรื้อรังนับตั้งแต่ช่วงการทำประชามติในปี พ.ศ. 2559 และ
ปัจจัยที่สาม คือ สหราชอาณาจักรกำลังแข่งขันเพื่อแย่งชิงความเป็นผู้นำที่มีอำนาจและอิทธิพล