Page 226 - kpiebook66030
P. 226
สรุปการประชุมวิชาการ
21 สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 24
ความท้าทายของความมั่นคงใหม่กับประชาธิปไตย
(Brexit Transition) เสร็จสิ้นสมบูรณ์ โดยสหราชอาณาจักรได้เข้ากระบวนการการสมัครพร้อมทั้ง
นำเสนอเหตุผลในการสมัครเข้า CPTPP ต่อประชาชนและเวทีโลก ประกอบไปด้วย 3 ประการ
ได้แก่ ประการที่ 1 เปิดโอกาสทางด้านการค้าและการลงทุนของสหราชอาณาจักรที่จะพัฒนา
เพิ่มมากขึ้นภายหลังวิกฤตการณ์โรคระบาด Covid-19 ประการที่สอง ช่วยสร้างพันธมิตร
ทางการค้าใหม่ของสหราชอาณาจักรร่วมทั้งกระบวนการจัดการการผลิตในสินค้าและบริการ
อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มความมั่นคงทางการค้าของสหราชอาณาจักรในยุคสมัยที่โลกมีการแทรกแซง
ของหลายปัจจัยได้ตลอดเวลา (disruption) และประการสุดท้าย คือ เป็นการปกป้องสถานะ
ทางการค้าโลกของสหราชอาณาจักรในอนาคตระยะยาว เนื่องจาก CPTPP จะช่วยส่งเสริมให้
สหราชอาณาจักรมีความทันสมัย สามารถสร้างเครือข่ายข้อตกลงทางการค้าและพลวัตทาง
เศรษฐกิจ กล่าวโดยสรุป คือ สหราชอาณาจักรต้องการที่จะเป็นศูนย์กลางของนักธุรกิจและ
นักลงทุนจากทั่วทุกมุมโลก และ CPTPP จะเป็นช่องทางในการเสริมสร้างความเป็นผู้นำ
โลกประชาธิปไตยและด้านการค้าเสรี โดยรัฐบาลสหราชอาณาจักรมีเป้าหมายที่จะเป็นผู้นำโลก
ในด้านการค้าเสรี (champion free trade liberalisation) ต่อสู้กับการนโยบายเศรษฐิจที่จำกัด
การนำเข้าจากประเทศต่างๆ (Protectionism) และ ยกเลิกกำแพงภาษีและอุปสรรคต่างๆ ของ
การค้าระหว่างประเทศอย่างเป็นรูปธรรม จากเหตุผลทั้ง 3 ประการผู้เขียนวิเคราะห์ได้ว่า
สหราชอาณาจักรต้องการที่จะเข้ามามีบทบาททางการค้าในข้อตกลงความครอบคลุมและ
ความก้าวหน้าเพื่อหุ้นส่วนทางการค้าภาคพื้นเอเชีย-แปซิฟิก หรือ CPTPP เพื่อเป็นการท้าทาย
อำนาจทางการค้าของจีนที่มีบทบาทเป็นผู้นำทางเศรษฐกิจโลก จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่า
ภูมิประเทศของสหราชอาณาจักรที่ไม่ได้ตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก แต่นโยบายต่างประเทศ
ใหม่กลับส่งเสริมการเข้ามามีบทบาทในภูมิภาคนี้ อีกทั้งการใช้บทบาทของผู้นำระบอบ
ประชาธิปไตยและการค้าเสรีเป็นช่องทางในการเข้ามาใกล้ชิด ซึ่งถือเป็นแนวทางของ
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศตัวแบบเดิม ที่สหราชอาณาจักรได้ใช้มาอย่างยาวนานและประสบ
ความสำเร็จในช่วงศตวรรษที่ 19 จนถึงต้นศตวรรษที่ 20 ก่อนที่ตัวแบบนี้จะถูกยกเลิกไปในช่วง
ที่สหราชอาณาจักรเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรปในระยะเวลารวม 43 ปี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
การเป็นผู้นำด้านการค้าเสรีของโลก ถึงแม้ว่ารัฐบาลจะไม่ได้มีการแสดงออกโดยตรงใน
การท้าทายและแข่งขันความเป็นผู้นำทางการค้าในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกกับรัฐบาลจีน
แต่นโยบายและการกระทำของสหราชอาณาจักรชี้ให้เห็นได้อย่างชัดเจนว่าการแข่งขันทาง
ภูมิศาสตร์ใหม่ของสหราชอาณาจักรในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกนี้ได้ดำเนินการผ่านแนวคิด
‘Global Britain’ โดยได้ใช้ตัวแบบเดิมเมื่อครั้งที่เคยยิ่งใหญ่และประสบความสำเร็จในฐานะ
จักรวรรดิบริติช (British Empire) ในด้านความมั่นคงทางการทหารและการเป็นผู้นำด้าน
บทความที่ผ่านการพิจารณา การค้าเสรีในฐานะผู้นำโลกในระบอบประชาธิปไตย สอดคล้องกับแนววิเคราะห์ของ Oliver
Turner ในบริบทของ ‘The Narrative of Empire’ อีกทั้งสอดคล้องกับนักวิชาการบางกลุ่ม
ได้กล่าวถึงบทบาทของสหราชอาณาจักรในศตวรรษที่ 21 ว่าอาจจะเป็นไปตามรูปแบบของ
‘Empire 2.0’ (Olusoga (2017; Turner, 2019; Saunders, 2020) ดังที่ได้ปรากฎในบทบาท
ของทั้งสองภูมิภาคที่ผู้เขียนได้เขียนบรรยายและวิเคราะห์ไว้ในข้างต้น