Page 225 - kpiebook66030
P. 225
สรุปการประชุมวิชาการ 21
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 24
ความท้าทายของความมั่นคงใหม่กับประชาธิปไตย
ในมุมมองของผู้เขียนได้มองว่า AUKUS คือ สัญลักษณ์ที่ชัดเจนของการถ่วงดุลอำนาจจีน
ส่งตรงจากสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักรผ่านน่านน้ำของออสเตรเลียในภูมิภาคเอเชีย-
แปซิฟิกในการแข่งขันภูมิรัฐศาสตร์ใหม่และระเบียบโลกใหม่ในศตวรรษที่ 21 รัฐบาล
สหราชอาณาจักรได้เน้นย้ำแนวคิด “Global Britain” ที่จะถูกใช้ในภูมิภาคนี้เพื่อแสดงให้เห็นถึง
บทบาทความเป็น “Great Power” ของสหราชอาณาจักรสามารถขยายหรือมีอิทธิพลเพิ่ม
มากขึ้นได้แม้ว่าจะออกจากสหภาพยุโรปแล้วก็ตาม ซึ่งสอดคล้องกับความคิดเห็นและ
บทวิเคราะห์ของศาสตราจารย์ ดร.สุรชาติ บำรุงสุข อาจารย์ประจำภาควิชาความสัมพันธ์
ระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ที่ได้กล่าวว่า “แม้การแข่งขันทาง
ภูมิรัฐศาสตร์ของรัฐมหาอำนาจใหญ่จะไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่ แต่ทว่าย้อนไปในยุคสงครามโลก
ครั้งที่ 1 สงครามโลกครั้งที่ 2 และสงครามเย็น ศูนย์กลางการแข่งขันจะอยู่ในยุโรป แต่ใน
ศตวรรษที่ 21 เป็น “ศตวรรษเอเชีย” (Asian Century)” (BBC News ไทย, 2565)
2.2 ข้อตกลงความครอบคลุมและความก้าวหน้าเพื่อหุ้นส่วนทางการค้าภาคพื้นเอเชีย-
แปซิฟิก (The Comprehensive and Progressive Agreement for Trans-Pacific
Partnership: CPTPP)
กระแสการรวมกลุ่มทางการค้าในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก เป็นที่สนใจของประเทศ
มหาอำนาจทั่วโลกมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากที่สหรัฐอเมริกาได้ถอนตัวจาก
1
ข้อตกลง Trans-Pacific Partnership (TPP) ในปี พ.ศ. 2560 ในปัจจุบันประเทศสมาชิกของ
CPTPP มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 11 ประเทศ ได้แก่ ชิลี นิวซีแลนด์ สิงค์โปร์ บรูไน ออสเตรเลีย
มาเลเซีย เวียดนาม แคนาดา แม็กซิโก และญี่ปุ่น (กรมเจรจาการค้าต่างประเทศ กระทรวง
พาณิชย์, 2563) บทบาทรัฐบาลสหราชอาณาจักรซึ่งนำโดย นายกรัฐมนตรี บอริส จอห์นสัน
มีความต้องการที่จะเข้าร่วมในข้อตกลง CPTPP อย่างชัดเจน โดยรัฐบาลได้มีวัตถุประสงค์และ
เป้าหมายในการเข้าร่วม คือ จะทำให้สหราชอาณาจักรสามารถเพิ่มอิทธิพลและบทบาทในด้าน
การค้ากับคู่ค้ารายใหม่ได้และสามารถนำมาซึ่งผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจอย่างมหาศาลมาให้
ประเทศในระยะยาว อีกยังสามารถทำการค้ากับกลุ่มประเทศสมาชิกโดยไม่ต้องเสียภาษีนำเข้า
และส่งออกอาหาร เครื่องดื่มและรถยนต์ และความร่วมมือนี้เป็นประตูสำคัญในการเร่งพัฒนา
อุตสาหกรรมเทคโนโลยีและบริการของสหราชอาณาจักรต่อประเทศต่างๆภายหลังที่ถอนตัว
ออกจากการเป็นประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปหรืออียู (Department for International Trade,
2020)
แนวคิด “Global Britain” คือ หลักการที่สำคัญที่ใช้ผลักดันให้รัฐบาลสหราชอาณาจักร
มุ่งเน้นในการให้ความสนใจในการทำการค้ากับประเทศสมาชิกใหม่ๆ โดยรัฐบาลได้มี
ความสนใจที่จะเข้าร่วม CPTPP ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2563 เมื่อกระบวนการช่วงเปลี่ยนผ่าน บทความที่ผ่านการพิจารณา
1 ชื่อเดิมของ The Comprehensive and Progressive Agreement for Trans-Pacific Partnership
((Department for International Trade, 2020)