Page 220 - kpiebook66030
P. 220
สรุปการประชุมวิชาการ
210 สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 24
ความท้าทายของความมั่นคงใหม่กับประชาธิปไตย
การลงทุน การศึกษา วัฒนธรรม ความมั่นคงและการทหาร ต่อไปโดยเฉพาะอย่างยิ่ง
ประเทศไทยถือได้ว่าเป็นหนึ่งในศูนย์กลางทางการค้าและการลงทุนในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและ
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และยังคงเป็นพื้นที่ที่รัฐบาลสหราชอาณาจักรสามารถเข้ามาสนับสนุน
ระบอบประชาธิปไตยและต่อต้านอำนาจนิยมหรือการละเมิดสิทธิมนุษยชนในไทยต่อไป
บทบาทของสหราชอาณาจักรในภูมิภาคยุโรปและเอเชียแปซิฟิก
ภายใต้แนวคิด ‘Global Britain’
สหราชอาณาจักรกับการเป็นผู้นำด้านการสนับสนุนประชาธิปไตยได้ถูกระบุไว้ในนโยบาย
ของประเทศและเป็นที่ยอมรับในประเทศต่างๆทั่วโลกมาอย่างยาวนานนับตั้งแต่สิ้นสุด
สงครามโลกครั้งที่ 2 (Yougov, 2020; Kapila, 2022) แต่ในปัจจุบันบทบาท
ผู้นำประชาธิปไตยของสหราชอาณาจักรกำลังถูกท้าทายจากรัฐบาลอำนาจนิยมเป็นอย่างมาก
งานวิจัยและงานวิชาการจำนวนมากได้มีการวิเคราะห์และแสดงความคิดเห็นว่า ความเป็น
ผู้นำในโลกประชาธิปไตยของสหราชอาณาจักรได้เสื่อมถอยลง สามารถเห็นได้ชัดเจนจาก
การทำประชามติว่าด้วยการถอนตัวออกจากการเป็นประเทศสมาชิกแห่งสหภาพยุโรปของ
สหราชอาณาจักรในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2559 หรือที่รู้จักกันในชื่อ เบร็ทซิท (Brexit)
นักวิชาการด้านการเมือง เศรษฐกิจ และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศได้มีข้อกังวลและ
ถกเถียงกันในเรื่องการลงประชามติที่อาจไม่ถูกต้องตามหลักประชาธิปไตยและหลักธรรมาภิบาล
เนื่องจากผู้นำและรัฐบาลใหม่ที่เข้ามาปกครองสหราชอาณาจักรขาดความเป็นประชาธิปไตย
และการเพิ่มขึ้นของบทบาทของพรรคประชานิยมที่มีนโยบายขวาจัด (right-wing populist
party) ที่อาจมีหลักการการบริหารประเทศขัดแย้งกับหลักประชาธิปไตย (ธีรวิทย์ วชิรคพรรณ,
2559) ในการศึกษาล่าสุดของ Adam Forrest ในเดือนเมษายนที่ผ่านมา ยืนยันว่า
สหราชอาณาจักรกำลังเข้าสู่ยุคเสื่อมถอยของระบอบประชาธิปไตยภายใต้แนวคิดประธิปไตย
แบบมีตำหนิ (Flawed Democracy) โดยชี้วัดจากดัชนีประชาธิปไตยทั่วโลก ประกอบไปด้วย
มิติด้าน ความอิสรภาพ เสรีภาพของประชาชน และหลักธรรมาภิบาลของรัฐบาล โดยผลดัชนี
ประชาธิปไตยปี พ.ศ. 2565 ได้ปรากฏอย่างชัดเจนว่า สหราชอาณาจักรกำลังมีปัญหา
ด้านประชาธิปไตยโดยเฉพาะอย่างยิ่งภาพลักษณ์และความเชื่อใจที่มีต่อนายกรัฐมนตรีอย่าง
นายบอริส จอห์นสัน (Forrest, 2022; พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์, 2565)
รัฐบาลสหราชอาณาจักรแม้ว่ากำลังเผชิญกับปัญหาที่รุมเร้าภายในประเทศ ได้แก่
บทความที่ผ่านการพิจารณา สมาชิกสหภาพยุโรป (Brexit) วิกฤตการณ์ Covid-19 ที่รัฐบาลเผชิญกับปัญหาการจัดการด้าน
ความไม่มั่นคงทางการเมืองและเศรษฐกิจในประเทศภายหลังการลงประชามิติถอนตัวจาก
สาธารณสุขในประเทศ (The National Health Services: NHS) และสงครามยืดเยื้อระหว่าง
รัสเซียและยูเครน รัฐบาลตัดสินใจคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจ พลังงาน และการเงินกับรัสเซีย
ส่งผลต่อราคาพลังงานที่เพิ่มสูงขึ้นในหลายประเทศในทวีปยุโรปรวมทั้งภายในสหราชอาณาจักร