Page 219 - kpiebook66030
P. 219

สรุปการประชุมวิชาการ   20
                                                                               สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 24
                                                                                ความท้าทายของความมั่นคงใหม่กับประชาธิปไตย


             เผชิญอยู่ ได้แก่ ปัญหาเศรษฐกิจภายในประเทศ การขาดแคลนทรัพยากรธรรมชาติ
             และแรงงาน รวมทั้งปัญหาสังคมต่างๆ ได้ส่งผลต่อความถดถอยของระบอบประชาธิปไตย
             ในภูมิรัฐศาสตร์และระเบียบโลกใหม่ บทความนี้ผู้เขียนจึงมีคำถามที่ต้องการค้นหาว่า
             มหาอำนาจเหล่านี้จะมีรูปแบบ หลักการ หรือนโยบายในการแข่งขันทางภูมิรัฐศาสตร์อย่างไร?

             เมื่อรัฐบาลประชาธิปไตยไม่อาจจัดการกับปัญหาภายในประเทศได้ อีกทั้งประชาชนได้รับ
             ความเดือดร้อนในด้านคุณภาพชีวิต ความเป็นอยู่ในระยะยาวส่งผลต่อการไร้ซึ่งแรงศรัทธาและ
             ความเชื่อมั่นต่อรัฐบาลประชาธิปไตย

                   ประเทศสหราชอาณาจักร เป็นประเทศที่สามารถแสดงให้เห็นได้อย่างชัดเจนของ

             การแข่งขันทางด้านภูมิรัฐศาสตร์ใหม่ในฐานะผู้นำในการสนับสนุนระบอบประชาธิปไตยและ
             ต่อต้านระบอบอำนาจนิยม (The Integrated review, 2021; Their, 2021) ดังจะเห็นได้จาก
             ปัจจุบัน บทบาทของรัฐบาลสหราชอาณาจักรได้มุ่งดำเนินนโยบายผ่านแนวคิด ‘Global Britain’

             ตัวอย่างเช่น การเข้าไปช่วยเหลือและสนับสนุนรัฐบาลยูเครน โดยนายบอริส จอห์นสัน
             นายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร และประธานาธิบดียูเครน นายโวโลดีมีร์ เซเลนสกี ได้มี
             การเข้าพบกันทั้งอย่างทางการในเดือนเมษายนที่ผ่านมา สะท้อนให้เห็นถึงนโยบายต่างประเทศ
             ของรัฐบาลสหราชอาณาจักรหลังจากออกจากการเป็นประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปหรืออียู
             สหราชอาณาจักรยังคงต้องการที่จะกลับเข้าไปมีบทบาทในยุโรปอีกครั้งในฐานะ “ผู้นำ

             โลกประชาธิปไตย” และ “ต่อต้านอำนาจนิยมของรัฐบาลรัสเซียอย่างชัดเจน” นอกจากนี้
             การมุ่งขยายอิทธิพลความมั่นคงทางการทหาร และการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจไปยังภูมิภาค
             เอเชีย-แปซิฟิก ในเดือนกันยายนปี พ.ศ. 2564 สหราชอาณาจักรได้เข้าร่วมกรอบความร่วมมือ

             ด้านการทหารกับสหรัฐอเมริกาและออสเตรเลีย หรือมีชื่อเรียกว่า “AUKUS” ในการร่วม
             สนับสนุนออสเตรเลียในการสร้างกองเรือดำน้ำนิวเคลียร์ มีนัยสำคัญเพื่อต่อต้านจีน
             ในมหาสมุทรแปซิฟิก (Kuo, 2021, O’Brien, 2021) และการสมัครเข้าร่วมในข้อตกลง
             ความครอบคลุมและความก้าวหน้าเพื่อหุ้นส่วนทางการค้าภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก (Comprehensive
             and Progressive Agreement for Trans-Pacific Partnership) หรือที่รู้จักกันในนาม CPTPP

             (The Integrated Review, 2021) สะท้อนให้เห็นถึงการขยายบทบาทของสหราชอาณาจักร
             ภายหลังที่ออกจากสหภาพยุโรปในการคานอำนาจทางเศรษฐกิจระหว่างสหราชอาณาจักร
             และจีน โดยมีทิศทางเดียวกันกับสหรัฐอเมริกา


                   บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทของผู้นำประชาธิปไตยในยุคของการเปลี่ยนแปลง
             ของภูมิรัฐศาสตร์ หรือ ภูมิรัฐศาสตร์ใหม่ โดยศึกษาผ่านกรณีศึกษา ประเทศสหราชอาณาจักร
             ภายหลังที่ออกจากการเป็นประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปในปี พ.ศ. 2563 และดำเนินนโยบาย
             ต่างประเทศภายใต้แนวคิด ‘Global Britain’ และเพื่อวิเคราะห์แนวโน้มของการแข่งขันทาง

             ภูมิศาสตร์ของประเทศสหราชอาณาจักรภายใต้การแข่งขันภูมิรัฐศาสตร์ใหม่และระเบียบ               บทความที่ผ่านการพิจารณา
             โลกใหม่ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องใน
             การกำหนดแนวทางในการร่วมมือระหว่างประเทศในด้านต่างๆ ได้แก่ การค้า การเงินและ
   214   215   216   217   218   219   220   221   222   223   224