Page 218 - kpiebook66030
P. 218

สรุปการประชุมวิชาการ
     20  สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 24
       ความท้าทายของความมั่นคงใหม่กับประชาธิปไตย


           บทนำ


                 ภูมิรัฐศาสตร์ใหม่และการจัดระเบียบโลกใหม่ กำลังเป็นประเด็นที่สนใจของนักวิชาการ
           และนักเศรษฐศาสตร์ในสาขาระหว่างประเทศ การศึกษาด้านภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitics)
           มีความหมายโดยทั่วไป คือ การศึกษาการเมืองที่มีเหตุและปัจจัยทางภูมิศาสตร์เป็นตัวกำหนด
           (สถาพร ศรีสัจจัง, 2564) งานวิจัยและงานวิชาการทั่วโลกในด้านการเมืองและความสัมพันธ์
           ระหว่างประเทศในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ได้มุ่งเน้นศึกษาระบอบประชาธิปไตยกับการแข่งขันและ

           การเปลี่ยนแปลงของภูมิรัฐศาสตร์ใหม่ โดยได้มีการศึกษาคู่ขนานกับการจัดระเบียบโลกใหม่
           ในศตวรรษที่ 21 ในบริบทของการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่เกี่ยวข้องกับความสำคัญหรือ
           การเปลี่ยนแปลงทางภูมิศาสตร์ ได้แก่ 1) การเปลี่ยนแปลงการเมืองและนโยบายต่างประเทศ

           ของอังกฤษในรอบ 43 ปี กับการตัดสินใจถอนตัวออกจากการเป็นประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป
           หรืออียูโดยได้มีการลงประชามติในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2559 หรือที่รู้จักกันในนาม เบร็กซิต
           (Brexit) และได้มีผลการสิ้นสุดการเป็นประเทศสมาชิกอย่างเป็นทางการใน พ.ศ. 2563
           (Gamble, 2003) 2) การจัดระเบียบโลกใหม่หลังวิกฤตการณ์โรคระบาด Covid-19
           (กานต์ธีรา ภูริวิกรัย, 2563) 3) วิกฤตการณ์รัสเซีย-ยูเครน ที่เป็นสงครามยืดเยื้อตั้งแต่

           เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 จนถึงปัจจุบัน ส่งผลต่อการขาดแคลนน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ
           การเกิดภาวะเงินเฟ้อ และปัญหาผู้อพยพในภูมิภาคยุโรป (Tisdall, 2022) 4) เหตุการณ์
           ความขัดแย้งระหว่างสหรัฐอเมริกากับจีน ในประเด็นการเยือนไต้หวันของนางแนนซี เพโลซี

           ประธานสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐอเมริกาในเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา (หริรักษ์ สูตะบุตร, 2565)
           จากเหตุการณ์ทั้งหมดที่ผู้เขียนได้กล่าวในข้างต้นนั้น กล่าวโดยสรุปได้ว่า โลกกำลังเข้าสู่ยุคใหม่
           ของภูมิรัฐศาสตร์ การแข่งขันของมหาอำนาจทั่วโลกกำลังเผชิญหน้ากับความท้าทายจาก
           กลุ่มประเทศฝ่ายตรงข้าม โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มประเทศที่ปกครองด้วยระบอบอำนาจนิยม
           หรือเผด็จการ หลักฐานที่สามารถใช้สนับสนุนข้อเท็จจริงนี้ คือ งานวิจัยด้านความสัมพันธ์

           ระหว่างประเทศจำนวนมากได้มีการวิเคราะห์และถกเถียงกันอย่างแพร่หลายว่า โลกตะวันตก
           กำลังล่มสลายแล้วหรือไม่? สืบเนื่องมาจากนโยบายต่างประเทศของประเทศมหาอำนาจ ได้แก่
           สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร ญี่ปุ่น เยอรมนี รวมทั้งหลายประเทศในกลุ่มประเทศสมาชิก

           สหภาพยุโรปหรืออียูได้มุ่งเน้นนโยบายพัฒนาความสัมพันธ์กับประเทศโลกตะวันออก
           หรือที่เรียกว่า “The Decline of the West” (Beeson, 2020; Spagnol, 2020; Cox, 2021;
           Bratton, 2022) โดยเฉพาะอย่างยิ่งการที่ประเทศตะวันตกหลายประเทศมุ่งเน้นการเข้ามา
           มีบทบาทและพัฒนาความสัมพันธ์เชิงพันธมิตรทางเศรษฐกิจกับ จีน อินเดีย อิรัก อิหร่าน
    บทความที่ผ่านการพิจารณา   ระบอบประชาธิปไตยแต่อย่างใด สามารถกล่าวได้ว่า การที่มีจุดแข็งทางด้านเศรษฐกิจของชาติ
           และกลุ่มประเทศอาเซียน แม้ว่าประเทศเหล่านี้มิได้มีส่วนในการสนับสนุนและปกครองด้วย



           ต่างๆนั้นอาจไม่จำเป็นที่จะต้องใช้หลักการประชาธิปไตยเพื่อให้ได้มาซึ่งผลประโยชน์ในด้าน
           เศรษฐกิจโลกอีกต่อไป (Taussing & Jones, 2018) ดังนั้น ผลที่ตามมาคือ การเป็นแม่แบบ

           หรือผู้นำประชาธิปไตยของชาติมหาอำนาจตะวันตก รวมกับปัญหาภายในที่ประเทศที่กำลัง
   213   214   215   216   217   218   219   220   221   222   223