Page 14 - kpiebook66029
P. 14

สถาบันพระปกเกล้า
             King Prajadhipok’s Institute
                   (4)  การเสริมสร้างพลังทางสังคม (Social Empowerment) หมายถึง

          ศักยภาพที่แสดงให้เห็นและการมีปฏิสัมพันธ์ในสังคม การเสริมสร้างความสามารถเฉพาะ
          บุคคล ศักยภาพในการถ่ายทอดสู่สังคม เช่น การมีองค์ความรู้ การแบ่งเวลาให้ชีวิต
          การสนับสนุนประชาธิปไตย และ รวมถึงความเท่าเทียมกันในสังคมด้วยโดยเป้าหมายหลัก
          ของการเสริมสร้างพลัง คือ การส่งเสริมให้คนสามารถเป็นพลเมืองที่มีศักยภาพและมีอำานาจ
          ที่แท้จริงได้
               1.5.2   เยาวชน หมายถึง นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา ที่อยู่ในโรงเรียนสังกัด
          สำานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.)



          1.6   ประโยชน์ที่ได้รับ
               1.6.1   ได้ทราบระดับความพึงพอใจ ความเชื่อมั่นและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์
          ต่อระดับความพึงพอใจในชีวิตสังคมและการมีส่วนร่วมทางการเมืองในทัศนะของเยาวชน
               1.6.2   ได้แนวทางในการพัฒนาคุณภาพสังคมที่เหมาะสมกับบริบทสังคมไทย



          1.7   กรอบแนวคิดในการศึกษา
               การศึกษาครั้งนี้ ใช้แนวคิดของการศึกษาคุณภาพสังคม ตามแนวคิดของ Beck
          และคณะ (1998: 3 อ้างถึงใน สถาบันพระปกเกล้า, 2553) ซึ่งได้จำาแนกมิติของคุณภาพสังคม

          อันมีลักษณะเชื่อมโยงกันเป็น 4 มิติ ได้แก่ ความมั่นคงทางสังคมและเศรษฐกิจ (Socio-
          economic security) การยอมรับเป็นสมาชิกของสังคม (Social inclusion) ความสมานฉันท์
          ทางสังคม (Social cohesion) และการเสริมสร้างพลังทางสังคมให้แก่ประชาชน (Social
          empowerment) โดยมีประเด็นย่อยต่าง ๆ ในแต่ละมิติ ดังแสดงในภาพ 1-1


















           1-6
   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19