Page 12 - kpiebook66029
P. 12

สถาบันพระปกเกล้า
             King Prajadhipok’s Institute

          จัดให้มีบริการสาธารณะที่มีคุณภาพอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม เพื่อเปลี่ยนผ่านไปสู่ความยั่งยืน
          (สำานักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 2564)
               ด้วยเหตุนี้ การอยู่อาศัยร่วมกันภายใต้ทิศทางของการพัฒนาประเทศทั้งในระดับชาติ
          และสากลในสภาพสังคมแบบใหม่ ซึ่งเป็นสังคมที่เด็กและเยาวชนในวันนี้จะต้องอาศัยอยู่
          ต่อไปในวันหน้า จึงจำาเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีศึกษาถึงการเปลี่ยนแปลงคุณภาพสังคมใหม่
          ในทัศนะของเยาวชนขึ้น เพื่อศึกษาความพึงพอใจ ความเชื่อมั่น และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์
          ต่อระดับความพึงพอใจในชีวิตสังคมและการมีส่วนร่วมทางการเมืองในทัศนะของเยาวชน
          ที่นำาไปสู่การเสนอแนวทางในการพัฒนาคุณภาพสังคมใหม่ตามทัศนะของเยาวชนที่เหมาะสม
          ต่อไป



          1.2   วัตถุประสงค์
               1.2.1  เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจ ความเชื่อมั่นและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์
          ต่อระดับความพึงพอใจในคุณภาพสังคมตามทัศนะของเยาวชน
                   1.2.2   เพื่อนำาเสนอแนวทางในการพัฒนาคุณภาพสังคมที่เหมาะสมกับบริบท
          สังคมไทย



          1.3   คำาถามวิจัย
               1.3.1   ความพึงพอใจ ความเชื่อมั่นและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อระดับความพึงพอใจ
          ในชีวิตสังคมและการมีส่วนร่วมทางการเมืองตามทัศนะของเยาวชน เป็นอย่างไร
               1.3.2   แนวทางในการพัฒนาคุณภาพสังคมที่เหมาะสมกับบริบทสังคมไทย
          ควรเป็นอย่างไร


          1.4   ขอบเขตของการศึกษา
               1.4.1 ขอบเขตด้านเนื้อหา: ศึกษาคุณภาพสังคม ตามแนวคิดของ Beck และคณะ
          (1998: 3 อ้างถึงใน สถาบันพระปกเกล้า, 2553) ซึ่งได้แยกมิติของคุณภาพสังคม อันมีลักษณะ

          เชื่อมโยงกันเป็น 4 มิติ ได้แก่ ความมั่นคงทางสังคมและเศรษฐกิจ (Socio-economic
          security) การยอมรับเป็นสมาชิกของสังคม (Social inclusion) ความสมานฉันท์ทางสังคม
          (Social  cohesion)  และการเสริมสร้างพลังทางสังคมให้แก่ประชาชน  (Social
          empowerment)

           1-4
   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17