Page 16 - kpiebook66029
P. 16
สถาบันพระปกเกล้า
King Prajadhipok’s Institute
บทที่ 2 ทบทวนวรรณกรรม
การศึกษาการเปลี่ยนแปลงคุณภาพสังคมใหม่: คุณภาพสังคมในทัศนะของเยาวชนนี้
มีวัตถุประสงค์สำาคัญเพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจ ความเชื่อมั่น และ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์
ต่อระดับความพึงพอใจในคุณภาพสังคมตามทัศนะของเยาวชน เพื่อนำาเสนอแนวทางในการ
พัฒนาคุณภาพสังคมที่เหมาะสมกับบริบทสังคมไทย โดยผู้วิจัยได้ศึกษาเอกสารและงานวิจัย
ที่เกี่ยวข้อง แบ่งเป็นหัวข้อต่าง ๆ ดังนี้
2.1 แนวคิดเกี่ยวกับคุณภาพสังคม
2.2 คุณภาพสังคมกับการพัฒนาประเทศ
2.3 ระบบการพัฒนาสังคม
2.4 ความสำาคัญและบทบาทของเยาวชนในการพัฒนาคุณภาพสังคม
2.5 ภาวะของสังคมไทยในยุคปัจจุบัน
2.6 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
2.1 แนวคิดเกี่ยวกับคุณภาพสังคม
แนวคิดคุณภาพทางสังคมอยู่บนฐานคติที่ว่า “มนุษย์นั้นเป็นสิ่งสร้างทางสังคม” (social
beings) นัยที่สำาคัญของมุมมองเช่นนี้คือการปฏิเสธฐานคติของแนวคิดในเชิงเศรษฐศาสตร์
ที่มองว่ามนุษย์เป็นปัจเจกชนที่เป็นอิสระ เฉกเช่นดังอะตอมในโครงสร้างทางเคมีของโมเลกุล
ที่ซับซ้อนที่เรียกว่าสังคม และ สังคมเป็นเพียงแค่ส่วนรวมของอะตอมทั้งหลายที่เรียกว่า
ปัจเจกชน ในการดำาเนินชีวิตในสังคมของปัจเจกชนจะมีปัจจัยที่จะส่งผลต่อ “คุณภาพ”
การดำาเนินชีวิต และคุณภาพของสังคมโดยรวมในสามลักษณะ ปัจจัยกลุ่มแรกคือปัจจัย
เชิงองค์ประกอบ (constitutional factors) ที่ประกอบไปด้วย 1) ความมั่นคงส่วนบุคคล
(personal security) 2) การสนองตอบของสังคม (social responsiveness) 3) การยอมรับ
ทางสังคม (social recognition) จากสภาพแวดล้อมทางสังคม ต่อระบบและสถาบันที่ส่งผล
ต่อการดำาเนินชีวิตประจำาวัน และ 4) ความสามารถส่วนบุคคล (personal capacity) ที่จะ
มีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่นๆ ในสังคมปัจจัยเชิงองค์ประกอบนี้เกี่ยวข้องกับความสามารถของ
ปัจเจกชนที่จะดำาเนินกิจกรรมทางสังคมเพื่อพัฒนาการตระหนักรู้ของตนในฐานะสิ่งสร้าง
ทางสังคม เมื่อองค์ประกอบทั้งสี่ประการข้างต้นเริ่มทำางาน โอกาสหรือผลลัพธ์ที่จะเป็น
2-1