Page 21 - kpiebook66029
P. 21

การศึกษาการเปลี่ยนแปลงคุณภาพสังคมใหม่ :
                                                       คุณภาพสังคมในทัศนะของเยาวชน
                   (3) สังคมมีโอกาสเสพติดอยู่กับภาพลวงตาและความจริงเทียม: เน้นการเสพสุข

            ทางร่างกาย มากกว่าที่จะเน้นด้านสติปัญญา และความสงบทางจิตวิญญาณ สถาบันครอบครัว
            จะถูกกัดกร่อนทำาลาย ความผูกพันในอารมณ์ร่วม ความผูกพันร่วมในสัญลักษณ์ พิธีกรรม
            และศิลปะหายไป ความเชื่อในปรัชญาชีวิตที่ดี ประวัติศาสตร์ที่ดี มนุษยชาติที่ดี จะถูกมองว่า
            เป็นเรื่องไร้สาระ วรรณกรรมดี ๆ ถูกท้าทาย และเมื่อศึกษาดูในอดีต อารยธรรมใหญ่ ๆ ที่
            ล่มสลายจะมีสภาพเช่นนี้ และในอีกความคิดหนึ่งโลกาภิวัฒน์เป็นจุดสุดยอดของสัญชาตญาณ
            ความรักและความฝันของมนุษย์ที่จะรวมทุกเผ่าพันธุ์ เชื้อชาติภาษา และวัฒนธรรม
            เข้าด้วยกัน ซึ่งจะช่วยสร้างสรรค์อุดมการณ์ระดับโลก เช่น อุดมการณ์ประชาธิปไตย
            สิทธิมนุษยชน การอนุรักษ์ธรรมชาติ และสิ่งอื่นที่จะช่วยให้มนุษย์ยึดเหนี่ยวร่วมกันมากขึ้น
            และจะทำาให้เกิดอารยธรรมใหญ่ ๆ อันเนื่องจากการปะทะสังสรรค์ทางวัฒนธรรมครั้งใหญ่

            ในยุคโลกาภิวัฒน์ เช่น การเกิดขึ้นของภาษาร่วมของมนุษยชาติ คือ ภาษาอังกฤษ เป็นต้น
            โลกาภิวัฒน์จะปฏิวัติการศึกษาของโลกด้วย
                   จากการจัดอันดับดัชนีความก้าวหน้าทางสังคม (Social Progress Index - SPI)
            ปี 2020 ที่จัดทำาโดย Social Progress Imperative องค์กรสัญชาติอเมริกันที่ทำาวิจัย
            ด้านคุณภาพชีวิตของแต่ละประเทศ การจัดอันดับของ SPI ครั้งนี้ มาจากการประเมินตัวชี้วัด
            ด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมมากถึง 12 หัวข้อ รวม 50 ปัจจัย ซึ่งครอบคลุม 3 มิติใหญ่ ๆ ได้แก่
            ความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ (Basic Human Needs) โครงสร้างพื้นฐานเพื่อความเป็นอยู่

            ที่ดี (Foundation of Wellbeing) รวมถึงโอกาสทางสังคม (Opportunity and Inclusiveness)
            โดยประเทศไทยได้รับคะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ 70.72 ซึ่งเพิ่มสูงขึ้นจาก 67.47 ในปีที่ผ่านมา โดยอยู่ใน
            อันดับที่ 79 จากทั้งหมด 163 ประเทศ และหากเทียบกันเองในอาเซียนแล้ว ประเทศไทย
            จะอยู่ในอันดับที่ 3 ซึ่งเป็นรองจากประเทศสิงคโปร์และมาเลเซีย แม้จะได้รับผลกระทบ
            จากวิกฤตโควิด-19 แต่ประเทศไทยก็นับว่ามีความก้าวหน้าด้านคุณภาพชีวิตอย่างต่อเนื่อง
            โดยเฉพาะปัจจัยด้านสุขภาพและอนามัย ด้านโอกาสการเข้าถึงการศึกษาขั้นสูง และด้านที่อยู่
            อาศัย ที่ได้รับการจัดอันดับอยู่ที่ 43 54 และ 74 ตามลำาดับ แต่ในทางกลับกัน เรื่องที่
            ประเทศไทยต้องปรับปรุงโดยเร็ว คือ ปัจจัยด้านการเข้าถึงการศึกษาขั้นพื้นฐาน ความปลอดภัย
            และความมั่นคง และด้านสิทธิและเสรีภาพส่วนบุคคล ที่รั้งอันดับ 98 119 และ 136

            ตามลำาดับ (สำานักงานนวัตกรรมแห่งชาติ, 2563) ข้อมูลดังกล่าว สะท้อนให้เห็นว่า ประเทศไทย
            ยังมีมิติของคุณภาพสังคมที่ต้องได้รับการพัฒนาอีกหลายด้าน เพื่อรองรับกับความผันผวน
            และรับมือกับปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็วในอนาคต

                                                                        2-6
   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26