Page 22 - kpiebook66029
P. 22

สถาบันพระปกเกล้า
             King Prajadhipok’s Institute
                 การจัดทำาแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566-2570)

          โดยสำานักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือ สศช. (2564) ในฐานะเจ้าภาพหลัก
          จึงได้มีการปรับกระบวนการคิดและได้ให้ความสำาคัญต่อการพัฒนาคุณภาพสังคมควบคู่
          ไปกับการพัฒนาเศรษฐกิจมากยิ่งขึ้น ซึ่งการดำาเนินงานเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจ
          และสังคมของประเทศก่อนที่จะมีรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับปัจจุบันที่ได้
          มีการประกาศใช้ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580) นั้น แผนพัฒนาเศรษฐกิจและ
          สังคมแห่งชาติทำาหน้าที่เป็นเข็มทิศนำาทางเป็นแผนหลักเพื่อเป็นกรอบในการวางแผนปฏิบัติ
          ราชการและแผนในระดับปฏิบัติต่าง ๆ รวมถึงการจัดทำาคำาของบประมาณรายจ่ายประจำาปี
          ให้มีความสอดคล้องเชื่อมโยงกัน แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ผ่าน ๆ มา
          จึงมีลักษณะการกำาหนดประเด็นการพัฒนาประเทศในภาพกว้างที่ครอบคลุมทุกมิติ เพื่อให้

          หน่วยงานภาครัฐทุกระดับสามารถเชื่อมโยงภารกิจและจัดทำาแผนปฏิบัติราชการและคำาขอ
          งบประมาณให้อยู่ภายใต้กรอบ การสนับสนุนเป้าหมายของแผนพัฒนาฯ การพัฒนาประเทศ
          ภายใต้แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ผ่านมาจึงให้ความสำาคัญกับมิติการพัฒนาประเทศทุกด้าน
          อย่างเท่าเทียมและสมดุลกัน โดยจุดเน้นของแต่ละยุทธศาสตร์ การพัฒนาจะมุ่งเน้นการบรรลุ
          เป้าหมายการพัฒนาแต่ละด้านเป็นหลัก เพื่อมุ่งหมายให้ผลสัมฤทธิ์ที่เกิดขึ้น จากการขับเคลื่อน
          การพัฒนาของแต่ละมิตินำาไปสู่การบูรณาการผลรวมที่สนับสนุนการดำาเนินงานซึ่งกันและกัน
          และส่งผลให้ประเทศบรรลุเป้าหมายในภาพใหญ่ที่กำาหนดขึ้นภายใต้แผนพัฒนาฯ ได้

                  อย่างไรก็ดี  นับตั้งแต่ประเทศไทยได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
          พ.ศ. 2560 เป็นต้นมา รูปแบบการจัดทำาแผนเพื่อวางกรอบทิศทางการพัฒนาประเทศ
          ได้มีการปรับเปลี่ยนไปอย่างมีนัยสำาคัญ โดยมาตรา 65 ภายใต้หมวดแนวนโยบายแห่งรัฐ
          ได้กำาหนดให้ รัฐพึงจัดให้มียุทธศาสตร์ชาติเป็นเป้าหมายการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน
          ตามหลักธรรมาภิบาลเพื่อใช้เป็นกรอบในการจัดทำาแผนระดับ 2 และ 3 ตลอดจนการจัดทำา
          กรอบงบประมาณรายจ่ายประจำาปีให้สอดคล้องและบูรณาการกันเพื่อให้เกิดเป็นพลังผลักดัน
          ร่วมกันไปสู่การบรรลุเป้าหมายการพัฒนาประเทศที่กำาหนดไว้ในยุทธศาสตร์ชาติ ทั้งนี้
          การถ่ายทอดยุทธศาสตร์ชาติไปสู่การปฏิบัติให้มีความสอดคล้องกันอย่างเป็นระบบนั้น
          ยุทธศาสตร์ชาติ ซึ่งเป็นแผนระดับที่ 1 จะทำาหน้าที่เป็นกรอบทิศทางการพัฒนาประเทศ

          ในภาพใหญ่ที่ครอบคลุมการสร้างสมดุล ระหว่างการพัฒนาประเทศด้านความมั่นคง เศรษฐกิจ
          สังคมและสิ่งแวดล้อมเข้าด้วยกัน ด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน โดยมี



           2-7
   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27