Page 27 - kpiebook66029
P. 27

การศึกษาการเปลี่ยนแปลงคุณภาพสังคมใหม่ :
                                                       คุณภาพสังคมในทัศนะของเยาวชน
            ช่วยตัวเองและประกอบอาชีพสุจริตเลี้ยงตนเองและคู่ครองของตนเองในอนาคต ซึ่งเป็น

            การพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมให้มีคุณสมบัติเป็นพลเมืองดีของสังคมอีกด้วย
                   (3) การพัฒนาความเป็นปึกแผ่นของครอบครัว ความเป็นปึกแผ่นของครอบครัว
            (Family Solidarity) ทำาให้ครอบครัวมีความมั่นคงและมีความสุข กระบวนการในการพัฒนา
            ความเป็นปึกแผ่นของครอบครัว ประกอบด้วย การเตรียมตัวของคู่สมรสให้มีความพร้อม
            ก่อนมีครอบครัวการเรียนรู้ในบทบาทของสามีภรรยา การมีการงานที่มั่นคงและสุจริตเพื่อให้
            มีรายได้เลี้ยงดูสมาชิกในครอบครัวอย่างพอเพียง การอบรมพัฒนาคู่ครองให้มีความซื่อสัตย์
            ต่อกัน การรู้จักอดออมทรัพย์ที่หามาได้และรู้จักใช้สอยอย่างประหยัดและเกิดประโยชน์สูงสุด
            การมีความโอบอ้อมอารีต่อกัน มีความกตัญญูรู้จักคุณของบุพการี และการมีความร่วมมือกัน
            ในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ การทำาให้ครอบครัวมีความเป็นปึกแผ่นมั่นคง ซึ่งเป็นการพัฒนา

            สังคมให้มีความเข้มแข็งและยั่งยืนและมีผลทำาให้คุณภาพชีวิตของสมาชิกในครอบครัว
            มีความสูงส่งตามมาตรฐานชีวิตที่ดีและที่พึงปรารถนา
                 2.3.2  ระบบการศึกษา
                 ระบบการศึกษา หมายถึง แบบแผนบรรทัดฐานเพื่อการศึกษาอบรมโดยเป็นระบบที่
            เกี่ยวข้องกับระบบการเรียนการสอน การถ่ายทอดวัฒนธรรม ความรู้ความคิดต่าง ๆ การศึกษา
            เป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสมาชิกให้เป็นไปตามที่สังคมต้องการ ถือเป็น
            กระบวนการพื้นฐานที่พบเห็นในทุกสังคมทั้งในชนบทและในเมืองและทุกระดับ ข้อแตกต่าง

            จะอยู่ที่ระบบการเรียนการสอน ลักษณะผู้เรียน ผู้สอน ตำาราที่สอน สื่อที่ใช้ในการสอน และ
            วิธีการในการสอน ในสังคมไทยปัจจุบันรูปแบบการศึกษาจะมี 3 อย่าง คือ การศึกษา
            อย่างเป็นทางการหรือการศึกษาในระบบการศึกษาอย่างไม่เป็นทางการหรือการศึกษา
            นอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย ทั้งนี้ระบบการศึกษามีบทบาทที่สำาคัญมากในการ
            พัฒนาคุณภาพชีวิตของบุคคล ดังนี้
                   (1) มุ่งพัฒนาให้เกิดความรู้ (พุฒิศึกษา) ในเรื่องต่าง ๆ ที่บุคคลปรารถนาจะรู้
            เพื่อเป็นการพัฒนาโลกทัศน์เกี่ยวกับชีวิตให้กว้างไกลและสามารถรับรู้สภาพการณ์ต่าง ๆ
            ที่เกิดขึ้นในโลกได้อย่างกว้างขวางอันเป็นการช่วยให้ชีวิตมีความหมายมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้
            การศึกษาช่วยให้บุคคลรู้จักสังคมที่ตนอยู่อาศัยและสังคมล้อมรอบว่ามีประวัติความเป็นมา

            อย่างไร มีวัฒนธรรมเป็นอย่างไรดำารงอยู่ได้อย่างไร มีสภาพแวดล้อมทางกายภาพเป็นอย่างไร
            มีปัญหาเป็นอย่างไร เมื่อบุคคลมีความรู้ความเข้าใจในสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อมแล้ว



                                                                       2-12
   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32