Page 26 - kpiebook66029
P. 26
สถาบันพระปกเกล้า
King Prajadhipok’s Institute
อย่างเป็นคู่ขนาน เพราะ เมื่อสังคมมีคุณภาพก็จะเป็นปัจจัยหนุนเสริมกลไกการขับเคลื่อน
การพัฒนาประเทศให้บรรลุสู่เป้าหมายได้อย่างรวดเร็ว
2.3 ระบบการพัฒนาสังคม
การส่งเสริมให้เกิดความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคคลในครอบครัวและชุมชน ขจัดปัญหา
ความขัดแย้งในชุมชน สร้างสังคมให้เข้มแข็ง มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย และมีความ
ยุติธรรมนั้น สังคมจำาเป็นต้องได้รับการจัดระบบย่อยต่าง ๆ ให้เกิดการสอดประสานกัน
อย่างสมดุล ซึ่งระบบการพัฒนาสังคม มีความเกี่ยวข้องกับระบบย่อยต่าง ๆ ดังนี้ (สำานัก
มาตรฐานการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์, 2549)
2.3.1 ระบบครอบครัว
วิเคราะห์ในเชิงโครงสร้างครอบครัว ประกอบด้วย สมาชิกที่เป็นพ่อแม่และบุตร
เป็นเบื้องต้น เมื่อมีสมาชิกเพิ่มขึ้นมาครอบครัวจะกลายเป็นครอบครัวขยายมีสมาชิกมากขึ้น
ซึ่งนอกจากพ่อแม่และบุตรแล้ว จะมีญาติพี่น้องคนอื่น ๆ อาศัยอยู่ด้วยในครอบครัวเดียวกัน
กลายเป็นครอบครัวขยาย (Extended Family) แต่ถ้ามีสมาชิกที่เป็นเฉพาะพ่อ แม่ และลูก
อยู่ร่วมกันเป็นครอบครัวขนาดเล็ก ซึ่งเรียกว่าครอบครัวเดี่ยว (Nuclear Family) ในสังคมไทย
พบว่ามีครอบครัวขนาดเล็กหรือครอบครัวเดี่ยว ส่วนในสังคมชนบทครอบครัวส่วนใหญ่
จะเป็นครอบครัวขยายและบทบาทของครอบครัวทั้งสองแบบนี้โดยพื้นฐานแล้วมีลักษณะ
คล้ายคลึงกันแต่อาจจะเปลี่ยนแปลงไปบ้างตามบริบทของสังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม
โดยครอบครัวมีบทบาทในการพัฒนาสังคมมากที่สุดในการมีชีวิตอยู่รอดของสมาชิกที่
เกิดมาใหม่รวมทั้งบทบาทด้านอื่น ๆ อีกหลายอย่าง ซึ่งสามารถกล่าวได้ดังต่อไปนี้
(1) การฝึกอบรมให้รู้จักระเบียบกฎเกณฑ์ที่ดีของสังคม ครอบครัวทำาหน้าที่
ฝึกอบรมสมาชิกที่เกิดมาใหม่ให้รู้จักกฎเกณฑ์ที่ดีในสังคม (Socialization) และสามารถ
ปฏิบัติตนให้สอดคล้องกับระเบียบกฎเกณฑ์ที่สังคมมาใช้บังคับ ครอบครัวจึงมีหน้าที่ในการ
อบรมสมาชิกให้รู้จักบทบาทและปฏิบัติตามบทบาทนั้น ๆ อย่างเหมาะสม เช่น บทบาท
ของพ่อแม่ บทบาทของลูกและที่สำาคัญบทบาทของผู้ที่เป็นสามีและภรรยาจะพึงปฏิบัติต่อกัน
และกันอย่างเหมาะสมรวมทั้งการพัฒนาความสัมพันธ์ที่ดีกับสมาชิกคนอื่น ๆ ในสังคมอีกด้วย
(2) การอบรมสั่งสอนให้สมาชิกที่เกิดมาใหม่เป็นคนดี โดยการห้ามปรามไม่ให้
ทำาความชั่วและผิดจากศีลธรรมอันดีงาม พัฒนาให้มีความรู้ ทำาแต่ความดี มีทักษะสามารถ
2-11