Page 25 - kpiebook66029
P. 25
การศึกษาการเปลี่ยนแปลงคุณภาพสังคมใหม่ :
คุณภาพสังคมในทัศนะของเยาวชน
(1) ทำาให้ปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมลดน้อย หรือเบาบางลงไป เป็นที่ทราบกัน
โดยทั่วไปว่าปัญหาสังคมที่เกิดขึ้นจำานวนมาก เช่น ปัญหายาเสพติด ปัญหาการใช้ความรุนแรง
ปัญหาอาชญากรรม เป็นต้น ล้วนเกิดจากกระแสการเปลี่ยนแปลงของสังคม ฉะนั้น ในการ
พัฒนาสังคมจึงควรยึดหลักคุณธรรมและมีความอดทน ตลอดจนกล้าที่จะคิดหาแนวทาง
ในการบรรเทาปัญหาต่าง ๆ และยอมรับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในลักษณะของการ
ลดปัญหา
(2) ทำาให้เกิดการป้องกันปัญหาที่เคยเกิดขึ้นมาแล้ว เป็นการเรียนรู้จากบทเรียน
หมายความว่า สมาชิกในสังคมได้มีการเรียนรู้ มีการคิด มีการวิเคราะห์ปัญหา เพื่อสร้าง
องค์ความรู้ใหม่และมีความสามารถ พร้อมที่จะเผชิญกับการแก้ปัญหาที่จะเกิดขึ้น เพื่อใช้
เป็นแนวทางในการแก้ปัญหาที่มีความคล้ายคลึงกันในอนาคต
(3) ทำาให้สังคมมีความเจริญก้าวหน้า กล่าวคือ มีความร่วมมือจากทุกฝ่าย
ในสังคม ไม่ว่าจะเป็นสถาบันครอบครัว สถาบันการศึกษา สถาบันศาสนา สถาบันการเมือง
การปกครอง ตลอดจนสื่อมวลชน อีกทั้งหน่วยงานราชการต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวง
ศึกษาธิการ กระทรวงสาธารณสุขกระทรวงมหาดไทย เป็นต้น และยังหมายรวมถึงประชาชน
และชุมชนในท้องถิ่น องค์กรพัฒนาเอกชน ภาคเอกชน โดยแต่ละฝ่ายร่วมกันคิด ร่วมกัน
ปฏิบัติให้เป็นไปตามแผนที่ได้กำาหนดเอาไว้ในการพัฒนาสังคม
(4) ทำาให้ประชาชนในสังคมอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข การทำาให้ประชาชน
ในสังคมอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข หมายถึง การที่สมาชิกแต่ละคนในสังคมมีจิตสำานึกของ
ความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม เป็นสังคมที่สงบสุข ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพภายใต้
ขอบเขตทางกฎหมาย ทุกกลุ่มคนในสังคมมีโอกาสและมีความสามารถในการพัฒนาศักยภาพ
ของตนเองอย่างเต็มความสามารถเป็นผู้ที่อยู่ในครอบครัวที่มีแต่ความอบอุ่นภายในชุมชนที่มี
ความเข้มแข็ง ภายใต้สภาพแวดล้อมที่ดีอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขปราศจากความขัดแย้ง และ
(5) ทำาให้สังคมมีความมั่นคงเป็นปึกแผ่น การทำาให้สังคมมีความมั่นคงเป็นปึกแผ่น
หมายถึงสมาชิกในสังคมมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน มีเอกลักษณ์ร่วมกัน รู้ซึ้งถึงคุณค่า
ของวัฒนธรรมคุณธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ได้รับการศึกษาที่เพียงพอ เป็นทั้งคนดีและ
มีความสามารถในการมีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคม
สรุปได้ว่า การพัฒนาประเทศที่มีประสิทธิภาพนั้น ไม่สามารถให้ความสำาคัญกับ
ภาคของการพัฒนาเศรษฐกิจแต่เพียงอย่างเดียวได้ หากแต่จะต้องมุ่งพัฒนาสังคมให้มีคุณภาพ
2-10