Page 29 - kpiebook66029
P. 29

การศึกษาการเปลี่ยนแปลงคุณภาพสังคมใหม่ :
                                                       คุณภาพสังคมในทัศนะของเยาวชน
            ฉ้อราษฎร์บังหลวง ปัญหาการทุจริต ปัญหาสาธารณสุข และปัญหามลภาวะ ดังเช่นในสังคมเมือง

            ขนาดใหญ่ทั้งในโลกตะวันตกและโลกตะวันออกโดยความหมายของระบบเศรษฐกิจเป็นระบบ
            ที่เกี่ยวข้องกับแบบแผนการดำาเนินชีวิต การผลิต การบริโภค และการจำาหน่ายสิ่งที่ผลิต
            ไปยังตลาดหรือผู้ที่ต้องการให้ได้รับการตอบสนองอย่างมีประสิทธิภาพและอย่างประหยัด
            ที่สุด ระบบเศรษฐกิจยังเป็นระบบที่สัมพันธ์กับการจัดระเบียบทรัพยากรธรรมชาติ การจัดระเบียบ
            วัฒนธรรมและแรงงานของมนุษย์เพื่อดำารงและส่งเสริมสวัสดิการทางวัตถุของมนุษย์ ระบบ
            เศรษฐกิจ จึงได้รับการตีค่าในระดับสูงโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสังคมที่เน้นวัตถุนิยม สังคมใด
            ที่ให้ความสำาคัญแก่วัตถุเหนือกว่ามิติด้านอื่น สังคมนั้นจะหมกมุ่นอยู่กับการแสวงหาวัตถุ
            จะไม่ให้ความสำาคัญแก่มิติด้านอื่นของชีวิต ในที่สุดสังคมนั้นจะตกเป็นทาสของวัตถุ สังคม
            ที่ตกเป็นทาสของวัตถุจะวุ่นวายไปกับการแข่งขันในการแสวงหาวัตถุอย่างไม่รู้จักเพียงพอ

            พระพุทธศาสนาเรียกสังคมแบบนี้ว่า สังคมแห่งความโลภ คือ สังคมที่ตกอยู่ภายใต้อำานาจ
            กระแสกิเลสคือความโลภอันเป็นตัวผลักดันให้มนุษย์ไม่รู้จักพอระบบเศรษฐกิจในสังคม
            ปัจจุบันพิจารณาตามแบบแผนการผลิตการจำาหน่ายและการบริโภคระบบเศรษฐกิจ  อาจจำาแนก
            ได้เป็น 4 รูปแบบ คือ
                   (1) ระบบเศรษฐกิจทุนนิยม เป็นระบบเศรษฐกิจแบบเสรี สมาชิกในสังคม
            มีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินส่วนตัวอย่างชอบธรรมตามกฎหมายและมีเสรีภาพในการประกอบ
            อาชีพตามความสนใจความถนัด และความรู้ความสามารถโดยจะต้องเป็นอาชีพสุจริต

            สมาชิกในสังคมต้องมีเสรีภาพในการเลือกบริโภคสินค้าและบริการตามรสนิยม ระบบ
            เศรษฐกิจทุนนิยมนี้เปิดโอกาสให้มีการแข่งขันกันในการผลิตและการจำาหน่าย ไม่มีการ
            ผูกขาดการผลิตและการจำาหน่ายรัฐบาลเข้ามาแทรกแซงน้อยมาก โดยรัฐเข้ามาควบคุม
            การใช้ทรัพยากรธรรมชาติและการกำาหนดราคาอย่างเป็นธรรมแก่ผู้บริโภค
                   (2) ระบบเศรษฐกิจสังคมนิยม เป็นระบบเศรษฐกิจที่ไม่ให้เสรีภาพแก่ปัจเจกบุคคล
            ในการประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจ รัฐจะเข้ามามีบทบาทในการควบคุมและกำาหนด
            การผลิต การจำาหน่ายจ่ายแจก และการบริโภค สมาชิกจะไม่มีกรรมสิทธิ์ในการครอบครอง
            ผลผลิตของตนที่หามาได้ทั้งหมด รัฐจะเข้ามาจัดการผลผลิตต่าง ๆ บุคคลในสังคมจะต้อง
            ทำางานแต่จะได้รับผลตอบแทนตามความจำาเป็นเท่านั้น

                   (3) ระบบเศรษฐกิจรัฐสวัสดิการ เป็นระบบเศรษฐกิจผสมที่ดึงเอาส่วนที่ดี
            ของระบบเศรษฐกิจทุนนิยมและระบบเศรษฐกิจสังคมนิยมมาผสมกัน แล้วกลายเป็นระบบ



                                                                       2-14
   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34