Page 34 - kpiebook66029
P. 34
สถาบันพระปกเกล้า
King Prajadhipok’s Institute
2.4 ความสำาคัญและบทบาทของเยาวชนในการพัฒนาคุณภาพสังคม
ประเทศไทยกำาลังเผชิญกับความท้าทายที่สำาคัญ คือ การพัฒนาเยาวชนให้กลายเป็น
ผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพและเป็นผู้นำาที่จะพาประเทศไปสู่ความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจในระยะยาว
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อประเทศกำาลังเผชิญกับอัตราการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างประชากร
ในการเข้าสู่การเป็นสังคมผู้สูงอายุ โดยภายในปี 2588 อัตราการพึ่งพิงของประชากรของ
ประเทศไทย (สัดส่วนจำานวนประชากรซึ่งมีอายุ 0-14 ปี และมากกว่า 65 ปี ต่อจำานวน
ประชากรวัยทำางานในช่วงอายุ 15-24 ปี) จะเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 20 ในปี 2560 เป็นกว่า
ร้อยละ 50 หมายความว่า จากปัจจุบันที่มีประชากรประมาณ 5 คนทำางานเลี้ยงผู้สูงอายุ 1 คน
ภายในปี 2583 ประเทศไทยจะเหลือประชากรไม่ถึง 2 คน ทำางานเพื่อเลี้ยงผู้สูงอายุ 1 คน
ดังนั้น ประเทศไทยจึงมีความจำาเป็นเร่งด่วนที่ต้องพัฒนาเยาวชนให้มีความรู้และทักษะที่จำาเป็น
ต่ออนาคตของชาติและสามารถมีส่วนร่วมเพื่อบรรลุเป้าหมายตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี
วิสัยทัศน์อาเซียน 2568 และเป้าหมายเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ
(บีนา กุตติพารามบิล, 2562)
ข้อมูลที่น่าสนใจจากเวทีเสวนาระดมความคิดเรื่อง “ภาพรวมชีวิตของเด็กและเยาวชนไทย”
โดยสถาบันรามจิตติ (2553) ได้วิพากษ์ไว้ว่าในรอบ 100 ปีที่ผ่านการเปลี่ยนแปลงของสังคม
เป็นไปอย่างค่อยเป็นค่อยไป ในขณะที่ในรอบ 50 ปีที่ผ่านมามีแรงขับเคลื่อนปัจจัยต่าง ๆ ที่ส่งผล
ต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วซึ่งส่งผลกระทบต่อสังคม คุณภาพวิถีชีวิตของเด็กและ
เยาวชนอย่างต่อเนื่อง ตัวอย่างเช่น 1) กระแสทุนนิยมและการหลั่งไหลเข้ามาของวัฒนธรรม
ตะวันตก ส่งผลให้สภาพการณ์ทางโครงสร้างสังคมไทยเปลี่ยนไปในทิศทางที่สลับซับซ้อน เช่น
ทิศทางการพัฒนาสังคมเมืองและชนบท ระบบเศรษฐกิจอุตสาหกรรม รูปแบบการดำาเนินชีวิต
ภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ การแย่งชิงและขัดแย้งผลประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติ 2) กระแส
พหุวัฒนธรรมของโลกสมัยใหม่ที่มาพร้อมกับกระแสโลกาภิวัตน์และความก้าวหน้าของ
เทคโนโลยีการสื่อสารในยุคศตวรรษที่ 21 แม้ภาพรวมจะมีการสื่อสารทางเลือกของสังคม
ที่ดีแต่ยุทธศาสตร์การขยายสื่อดี ๆ นั้น ก็ยังขาดประสิทธิภาพ ในขณะที่เด็กและเยาวชน
ก็ขาดภูมิคุ้มกันสื่อ การเลือกรับรู้ ตระหนักในข่าวสาร การบิดเบือนข้อเท็จจริง ความรู้
ทางศาสนา วัฒนธรรมประวัติศาสตร์ที่ดี สร้างรอยร้าวทางความคิดของกลุ่มผลประโยชน์
ทางเศรษฐกิจ ความขัดแย้งทางด้านแนวคิดทางการเมือง จนสะสมเป็นความบกพร่อง
ทางภูมิคุ้มกันจากสถาบันหลักที่สำาคัญของชาติ เช่น สถาบันศาสนา พระมหากษัตริย์ ที่เคยเป็น
2-19