Page 33 - kpiebook66029
P. 33
การศึกษาการเปลี่ยนแปลงคุณภาพสังคมใหม่ :
คุณภาพสังคมในทัศนะของเยาวชน
(4) ส่งเสริมและควบคุมสังคมให้มีความเป็นปกติสุข คำาสอนของพระพุทธศาสนา
ช่วยให้สังคมมีความเป็นปกติสุขและปราศจากปัญหาวุ่นวายทางสังคมได้เป็นอย่างดี เช่น ศีล 5
เป็นต้น การรักษาศีลช่วยให้เรามีความรักและความเมตตาต่อบุคคลอื่นไม่เห็นแก่ตัว ข้อนี้
จะมีผลทำาให้อาชญากรรมลดน้อยลง ซึ่งเป็นการควบคุมสังคมไปในตัว
(5) ส่งเสริมและอบรมบุคคลให้มีความรู้ระเบียบกฎเกณฑ์และประเพณีในสังคม
สถาบันพระพุทธศาสนามีบทบาทสำาคัญมากในการฝึกอบรมบุคคลให้รู้จักระเบียบกฎเกณฑ์
และประเพณีต่าง ๆ ในสังคม ทำาให้บุคคลรู้จักปรับตัวเข้ากับสังคมได้เป็นสมาชิกที่ดีของสังคม
เช่น สอนให้รู้จักผิดชอบต่อชีวิต สอนให้ปฏิบัติตนโดยถูกต้องต่อหน้าที่โดยไม่ให้เกิดความสับสน
ต่อบทบาทและหน้าที่ นอกจากนี้ พิธีกรรมและประเพณีต่าง ๆ ในสังคมมักจะได้รับการรักษาไว้
เป็นอย่างดีในวัด เช่น พิธีกรรมเวียนเทียน พิธีกรรมทอดกฐิน พิธีกรรมการบวช ประเพณี
ลอยกระทง เป็นต้น
(6) ส่งเสริมและพัฒนาวัฒนธรรมอันดีงามของสังคม พระพุทธศาสนามีบทบาท
สูงมากในการพัฒนาวัฒนธรรมไทย เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของชาติไทยส่วนใหญ่เป็นผล
มาจากอิทธิพลของพระพุทธศาสนา วัฒนธรรมของไทยอันเป็นผลมาจากการยอมรับและ
ปฏิบัติตามคำาสอนของพระพุทธศาสนามีหลายอย่าง ทั้งที่เป็นวัฒนธรรมทางรูปธรรม
และนามธรรม เช่น สถาปัตยกรรม และประติมากรรมซึ่งปรากฏในการสร้างวัด โบสถ์ วิหาร
เจดีย์ พระพุทธรูป ซึ่งมีลักษณะสวยงามเป็นจุดเด่นทางวัฒนธรรมอันทรงคุณค่า และเป็น
แหล่งดึงดูดนักท่องเที่ยวภายในประเทศนำาเงินตราจากต่างประเทศมาสู่ประเทศไทยปีละ
หลายแสนล้าน อิทธิพลที่มีต่อวรรณกรรมไทยซึ่งปรากฏว่ามีวรรณคดีที่สำาคัญหลายเรื่อง
ที่เรียบเรียงจากพระพุทธประวัติ นิทานชาดก และตำานานความเชื่อทางพระพุทธศาสนา และ
อิทธิพลที่สำาคัญมากทางพระพุทธศาสนาอย่างหนึ่ง ก็คือ อิทธิพลของคำาสอนพระพุทธศาสนา
ที่ช่วยกล่อมเกลาให้คนไทยเชื่อในผลของการทำาความดี มีจิตใจเมตตา และโอบอ้อม
อารีต่อผู้ที่ตกทุกข์ได้ยาก มีความเคารพเชื่อถือผู้อาวุโส มีความกตัญญูรู้คุณของบุพการี
มีความสงบเสงี่ยมอ่อนน้อมถ่อมตน มีจิตใจไม่ผูกพยาบาทและรู้จักให้อภัย
2-18