Page 38 - kpiebook66029
P. 38

สถาบันพระปกเกล้า
             King Prajadhipok’s Institute
          มีจำานวน 6.3 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.5 จากไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว อัตราการว่างงาน
                              ่
          ในไตรมาส 2 ปี 2565 ลดลงตำาที่สุดตั้งแต่มีการแพร่ระบาดของโควิด โดยมีผู้ว่างงานจำานวน
          5.5 แสนคน คิดเป็นอัตราการว่างงานร้อยละ 1.37 ลดลงทั้งผู้ว่างงานที่เคยทำางานมาก่อน
          และไม่เคยทำางานมาก่อน ขณะเดียวกัน การว่างงานยังปรับตัวดีขึ้นในทุกกลุ่ม โดยผู้ว่างงาน
          ระยะยาว (ผู้ว่างงานนานกว่า 1 ปี) มีจำานวน 1.5 แสนคน ลดลงร้อยละ 1.2 จากไตรมาส 2
          ปี 2564 การว่างงานตามระดับการศึกษาลดลงในทุกระดับการศึกษา และอัตราการว่างงาน
          ในระบบอยู่ที่ร้อยละ 2.17 ลดลงจากร้อยละ 2.77 จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ทั้งนี้
          มีประเด็นที่ต้องติดตามในระยะถัดไป ประกอบด้วยเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
               (1)  ผลกระทบจากภาวะเงินเฟ้อต่อแรงงาน โดยเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องส่งผล
          ให้ค่าจ้างที่แท้จริงลดลง โดยเฉพาะของแรงงานทักษะตำา ่

               (2) การขาดแคลนแรงงาน จากภาวะเศรษฐกิจที่กำาลังฟื้นตัวทำาให้ความต้องการ
          แรงงานเพิ่มขึ้นและเริ่มมีปัญหาการขาดแคลนแรงงาน แบ่งเป็น การขาดแคลนแรงงานทักษะ
          ปานกลาง-สูง พบว่ามีความไม่สอดคล้องของทักษะแรงงานและความต้องการ สะท้อนจาก
          ความต้องการแรงงานที่ส่วนใหญ่เป็นความต้องการแรงงานในภาคอุตสาหกรรมการผลิต
          และการประกอบชิ้นส่วนตามการขยายตัวของการส่งออก ขณะที่ผู้ว่างงานส่วนใหญ่
          กลับจบการศึกษาในด้านบริหารธุรกิจ สังคมศาสตร์ และศึกษาศาสตร์ ซึ่งอาจต้องเร่งรัดให้
          มีการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาหรือปรับเปลี่ยนทักษะให้สอดคล้องกับความต้องการ การขาดแคลน
                     ่
                                                               ่
          แรงงานทักษะตำา สะท้อนจากจำานวนแรงงานข้ามชาติที่ยังอยู่ในระดับตำากว่าช่วงปกติ
          หรือช่วงปี 2562 ที่เป็นช่วงก่อนการแพร่ระบาดของโควิด โดยปัจจุบันกระทรวงแรงงานได้
          มีการเปิดให้นายจ้าง/สถานประกอบการดำาเนินการยื่นบัญชีรายชื่อแจ้งความต้องการจ้าง
          แรงงาน 4 สัญชาติ (กัมพูชา, สปป.ลาว, เมียนมา และเวียดนาม) เพื่อสามารถอยู่และทำางานได้
          ถึงเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2568 ซึ่งอาจช่วยบรรเทาปัญหาการขาดแคลนแรงงานได้บางส่วน
               (3) ปัญหาการหมดไฟในการทำางาน ปัจจุบันแรงงานทั่วโลกจำานวนมากเริ่มมีภาวะ
          หมดไฟในการทำางานและลาออกจากงานมากขึ้น ซึ่งการสำารวจของวิทยาลัยการจัดการ
          มหาวิทยาลัยมหิดล ที่สำารวจแรงงานในกรุงเทพมหานคร ปี 2562 พบว่าแรงงานในทุกกลุ่ม
          อาชีพมีภาวะหมดไฟในระดับสูง กล่าวคือ พนักงานรัฐวิสาหกิจมีภาวะหมดไฟร้อยละ 77

          รองลงมาเป็นบริษัทเอกชนร้อยละ 73 ข้าราชการร้อยละ 58 และธุรกิจส่วนตัวร้อยละ 48
          สรุปดังภาพ 2-3 และ 2-4



           2-23
   33   34   35   36   37   38   39   40   41   42   43