Page 43 - kpiebook66029
P. 43

การศึกษาการเปลี่ยนแปลงคุณภาพสังคมใหม่ :
                                                       คุณภาพสังคมในทัศนะของเยาวชน
            1) เพื่อศึกษาความเป็นพลเมืองของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏ มหาสารคาม 2) เพื่อศึกษา

            ปัจจัยคุณภาพสังคมที่มีความสัมพันธ์ต่อความเป็นพลเมืองของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏ
            มหาสารคาม และ3) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาความเป็นพลเมืองของนักศึกษา มหาวิทยาลัย
            ราชภัฏมหาสารคาม โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการ
            เก็บรวบรวมข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (คิดเป็นร้อยละ
            62.5) ส่วนใหญ่อายุระหว่าง 19-20 ปี (คิดเป็นร้อยละ 43.7) ส่วนใหญ่เป็นนักศึกษา
            คณะมนุษยศาสตร์และ สังคมศาสตร์ (คิดเป็นร้อยละ 42.0) โดยเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 1 (คิดเป็น
            ร้อยละ 38.0) ซึ่งมีรายได้ระหว่าง 6,001- 10,000 บาท (คิดเป็นร้อยละ 52.5) ระดับ
            ความเป็นพลเมืองของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม พบว่าระดับความเป็น พลเมือง
            ของนักศึกษาในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( =2.85, S.D.=0.857) ปัจจัยคุณภาพสังคม

            มีความสัมพันธ์ต่อความเป็นพลเมืองของนักศึกษา ดังนี้ 1) ตัวแปรระดับความเป็นปึกแผ่น
            ทางสังคม กับตัวแปรระดับความเป็นพลเมืองของนักศึกษา มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัย
            สำาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05, 2) ตัวแปรระดับทุนทางสังคมกับตัวแปรระดับความเป็น
            พลเมืองของนักศึกษามีความสัมพันธ์ กันอย่างมีนัยสำาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ
            3) ตัวแปรระดับการสร้างเครือข่ายทางสังคมกับตัวแปร ระดับความเป็นพลเมืองของ
            นักศึกษา มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 แนวทางการพัฒนา
            ความเป็นพลเมือง โดยใช้ปัจจัยเรื่องคุณภาพสังคม ได้แก่ 1) หลักการสร้างความสัมพันธ์

            ที่ดีต่อกันระหว่างกลุ่มนักศึกษาด้วยกัน 2) หลักการขจัดความขัดแย้งในเรื่องผลประโยชน์
            3) หลักการสร้างอุดมการณ์และค่านิยมในด้านความขยัน ความอดทน การร่วมมือ การซื่อสัตย์
            และการพึ่งตนเอง 4) การให้การศึกษาอบรมอย่างต่อเนื่อง เรื่องความเป็นพลเมืองเป็นการ
            ส่งเสริมให้นักศึกษามีความรู้ความคิดช่วยให้นักศึกษามั่นใจในตนเองมากขึ้นที่จะปฏิบัติตน
            ในการเป็นพลเมืองที่ดี  5)  หลักการทำางานเป็นทีม สามารถนำามาใช้ในการแสวงหาความร่วมมือ
            ในการพัฒนาให้สังคมนักศึกษาตระหนักถึงความเป็นพลเมืองได้
                 ณฐมน หมวกฉิม และ คณะ (2565) ศึกษาการตื่นตัวทางการเมืองของเยาวชน
            ในระบอบประชาธิปไตยที่มีผลต่อการเลือกตั้งทั่วไปของไทย โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษา
            สภาพของการตื่นตัวทางการเมืองของเยาวชนที่มีผลต่อการเลือกตั้ง 2) เพื่อศึกษาปัจจัย

            ที่ส่งเสริมการตื่นตัวทางการเมืองของเยาวชนที่มีผลต่อการเลือกตั้ง และ 3) เพื่อบูรณาการ
            หลักพุทธธรรมตามหลักอิทธิบาท 4 เพื่อส่งเสริมการตื่นตัวทางการเมืองของเยาวชน



                                                                       2-28
   38   39   40   41   42   43   44   45   46   47   48