Page 40 - kpiebook66029
P. 40

สถาบันพระปกเกล้า
             King Prajadhipok’s Institute

          2.6   เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
               สำานักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ (2553) เผยผลสำารวจครอบครัวไทย
          ยุคใหม่ในงานสัมมนาเชิงวิชาการ เรื่องยุทธศาสตร์การส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ และ
          การเสริมสร้างความเข้มแข็งทางวัฒนธรรมของสังคมไทย โดยความร่วมมือกับสถาบันรามจิตติ
          เพื่อเป็นแนวทางในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การเสริมสร้างความเข้มแข็งทางวัฒนธรรมของ
          สังคมไทย เก็บข้อมูลในช่วงเดือนมกราคม 2553 กลุ่มตัวอย่าง 16,099 คน ในพื้นที่ 20 จังหวัด
          แยกเป็นเด็กเยาวชน 8,057 คน และกลุ่มประชาชนทั่วไป 8,042 คน มีเนื้อหาการสำารวจ
          ครอบคลุมมิติทางวัฒนธรรม 3 ประเด็น ได้แก่ มิติวัฒนธรรมการใช้ชีวิตครอบครัว มิติวัฒนธรรม
          ความเป็นไทย และมิติวัฒนธรรมการวิพากษ์และการมีส่วนร่วมทางการเมือง สรุปผลการสำารวจ
          ที่สำาคัญ พบว่า  (1) มิติทางวัฒนธรรมครอบครัว มีลักษณะเรียกว่า “ทางใครทางมัน” หรือ

          ให้นิยามครอบครัวสมัยใหม่ว่า เป็นครอบครัวแบบ “ไม่กิน-ไม่เที่ยว-ไม่เยี่ยม-ไม่คุย” หมายถึง
          การใช้เวลามื้อเย็นพร้อมกันในครอบครัว การไปเที่ยวพร้อมกับครอบครัว ตลอดจนประเพณี
          การเยี่ยมญาติในวันหยุดสุดสัปดาห์ของสังคมไทยเริ่มหายไป การสื่อสารในครอบครัว พบว่า
          เด็กคุยกับพ่อแม่ค่อนข้างน้อย โดยเฉพาะเรื่องเพศกับปัญหาบ้านเมือง มีเด็กร้อยละ 17 เท่านั้น
          ที่ยังมีการพูดคุยกันในครอบครัว (2) มิติวัฒนธรรมความเป็นไทย ยังพบว่าคนไทยยังคงมี
                               ้
          พฤติกรรมในการยิ้มให้กัน มีนำาใจ เชื่อในกรรมดี รักชาติและมีจิตอาสาเป็นจุดเด่น แต่พบ
                                          ้
          ปัญหาการใช้ภาษาไทยในการออกเสียงควบกลำา การเขียนเรียงความ เด็กร้อยละ 22 ยังชอบดู
          มโนราห์ โขน ยี่เก และฟ้อน ร้อยละ 11 ยังชอบใส่ผ้าไทยหรือชุดพื้นเมือง ส่วนนิสัยการเรียนรู้
          เด็กร้อยละ 40 ยังสนใจติดตามข่าวสารจากหนังสือ นิตยสาร และเว็บไซต์ต่าง ๆ ในระดับมาก
          ถึงมากที่สุด แต่เด็กมีแนวโน้มการอ่านหนังสือพิมพ์น้อยลง และน้อยกว่าผู้ใหญ่ชัดเจน มีเด็ก
          ร้อยละ 30 เท่านั้นที่ยังอ่านหนังสือพิมพ์ นอกจากนี้ เด็กรุ่นใหม่ยังมีความเชื่อโชคลางและ
          การพนัน เล่นหวยใต้ดินในเด็กด้วย รวมทั้งความไม่มีระเบียบวินัย เอาเสื้อออกนอกกางเกง
          ทิ้งขยะไม่เป็นที่ การไม่มุมานะในการทำางานและชอบซุบซิบนินทา อย่างไรก็ตาม มีเด็กไทย
          ร้อยละ 79 อยากเกิดเป็นคนไทย และมีจิตอาสาทำางานเพื่อสังคมอยู่และ (3) มิติวัฒนธรรม
          การวิพากษ์และการมีส่วนร่วมทางการเมือง ในภาพรวมคนไทยกับการเมืองยังดูเป็น “ยาขม”
          พบว่า คนไทยมีอารมณ์เซ็งการเมือง เด็กกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 15 เท่านั้นที่อยากพูดคุยเรื่องนี้

          และรู้สึกเบื่อหน่ายการตามข่าวการเมือง รังเกียจข่าวการทุจริตของนักการเมือง





           2-25
   35   36   37   38   39   40   41   42   43   44   45