Page 44 - kpiebook66029
P. 44

สถาบันพระปกเกล้า
             King Prajadhipok’s Institute
          ที่มีผลต่อการเลือกตั้ง การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี การวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูล

          สำาคัญจำานวน 24 รูป/คน โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการพรรณนา การวิจัย
          เชิงประมาณ ประชากรในการวิจัย คือ เยาวชนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งในกรุงเทพมหานคร วิธีการสุ่ม
          แบบแบ่งชั้น (Stratified random sampling) ได้กลุ่มตัวอย่างจำานวน 400 คน เครื่องมือ
          ที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบถามที่มีความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.95 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์คือ
          ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ ผลการ
          วิจัยพบว่า 1. วัฒนธรรมทางการเมืองมีผลต่อการตื่นตัวทางการเมืองของเยาวชนมากกว่า
          สถาบันกล่อมเกลาทางการเมือง 2. ปัจจัยที่ส่งเสริมการตื่นตัวทางการเมืองของเยาวชนที่มีผล
          ต่อการเลือกตั้งทั่วไปของไทย ภาพรวมอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยสมการถดถอยมีอำานาจ
          ในการทำานาย คิดเป็นร้อยละ 37.7 และหลักอิทธิบาท 4 เป็นสิ่งที่ดีต่อการส่งเสริมความเข้มแข็ง

          ให้แก่เยาวชนต่อการตื่นตัวทางการเมือง โดยมีข้อเสนอเชิงนโยบาย คือ 1) ควรส่งเสริมให้
          เยาวชนเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมือง และเปิดกว้างให้เยาวชนสามารถแสดงความคิดเห็น
          ทางการเมืองได้อย่างเสรี แต่อยู่ในกรอบของกฎหมาย 2) การสร้างวัฒนธรรมทางการเมือง
          แบบประชาธิปไตย โดยผ่านระบบการกล่อมเกลาทางการเมือง เพื่อปลูกฝังความศรัทธา
          ต่อระบอบประชาธิปไตย โดยใช้สื่อโซเชียลต่าง ๆ ให้เกิดประโยชน์ เช่น การรณรงค์หาเสียง
          เลือกตั้งเพื่อปลูกฝังให้เยาวชนเข้าใจว่า คือหน้าที่ที่สำาคัญและการเสนอนโยบายของ
          พรรคการเมือง เพื่อเป็นตัวกระตุ้นให้เยาวชนเกิดการตื่นตัวทางการเมือง เช่น การไปใช้สิทธิ

          เลือกตั้ง 3) สื่อสารมวลชน ควรเสนอข่าวสารทางการเมืองที่ชัดเจนรอบด้าน และภาครัฐ
          ไม่ควรควบคุมสื่อมากเกินไปทำาให้เยาวชนยิ่งอยากทราบถึงข้อมูลที่แท้จริง  จึงเกิดการค้นหาและ
          ทำาให้เกิดภาวะต่อต้านรัฐบาลในการบิดเบือนข้อมูลซึ่งสามารถนำาไปสู่กิจกรรมทางการเมือง
          ที่ไม่สร้างสรรค์ และ 4) การส่งเสริมการตื่นตัวทางการเมือง โดยการบูรณาการหลักพุทธธรรม
          ได้แก่ หลักอิทธิบาท 4 เข้ามาส่งเสริม โดยผ่านสถาบันกล่อมเกลาทางการเมืองเพื่อปลูกฝัง
          ให้เยาวชนมีจิตสำานึกที่ดี เกิดการพัฒนาการตื่นตัวทางการเมืองเชิงสร้างสรรค์ ทำาหน้าที่
          พลเมืองที่ดีในระบอบประชาธิปไตย
               สรพงษ์ เกิดแก้ว (2565) ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมือง
          ของเยาวชนในเขตกรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการ

          มีส่วนร่วมทางการเมืองของเยาวชนในเขตกรุงเทพมหานครเป็นการวิจัยเชิงปริมาณกลุ่มตัวอย่าง
          จำานวน 400 คน โดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญสถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ความถี่



           2-29
   39   40   41   42   43   44   45   46   47   48   49