Page 46 - kpiebook66029
P. 46
สถาบันพระปกเกล้า
King Prajadhipok’s Institute
บทที่ 3 วิธีการศึกษา
การศึกษาการเปลี่ยนแปลงคุณภาพสังคมใหม่: คุณภาพสังคมในทัศนะของเยาวชนนี้
มีวัตถุประสงค์สำาคัญเพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจ ความเชื่อมั่น และ ปัจจัยที่มี
ความสัมพันธ์ต่อระดับความพึงพอใจในคุณภาพสังคมตามทัศนะของเยาวชน เพื่อนำาเสนอ
แนวทางในการพัฒนาคุณภาพสังคมที่เหมาะสมกับบริบทสังคมไทย โดยใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณ
มีขั้นตอนและวิธีการศึกษา ดังนี้
3.1 วิธีดำาเนินการวิจัย
1. ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพสังคม สถานการณ์ที่เกี่ยวข้อง
กับเด็กและเยาวชน รวมทั้งแนวนโยบายและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
2. ออกแบบเครื่องมือวิจัย ซึ่งเป็นแบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณภาพสังคม
ในทัศนะของเยาวชน จำานวน 50 ข้อคำาถามหลัก ซึ่งแปลและปรับปรุงมาจากแบบสอบถาม
ของ ACSQ (Asian Consortium for Social Quality) เป็นหลัก โดยได้เพิ่มเติมเนื้อหา
ให้เหมาะสมกับกลุ่มตัวอย่างและสอดคล้องตามบริบทสังคมไทย (แสดงในภาคผนวก)
3. นำารายละเอียดโครงการและเครื่องมือวิจัย เสนอต่อคณะกรรมการจริยธรรม
การวิจัยในคน ของสถาบันพระปกเกล้า เพื่อพิจารณา
4. ทดลองใช้แบบสำารวจกับกลุ่มตัวอย่างที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่างจริง จำานวน 60 ฉบับ
เพื่อวิเคราะห์คุณภาพของแบบสำารวจ ได้ค่าความเที่ยงทั้งฉบับ (Cronbach’s alpha
coefficient) เท่ากับ .824 ซึ่งหมายถึง เครื่องมือมีความเที่ยงอยู่ในเกณฑ์ดีมาก
5. ดำาเนินการสุ่มตัวอย่าง โดยสุ่มเลือกจังหวัดตามภูมิภาคต่าง ๆ 6 ภูมิภาค โดยใช้
เกณฑ์การแบ่งภาคตามภูมิศาสตร์ของกระทรวงมหาดไทย ซึ่งผู้วิจัยจัดทำาลำาดับหมาย
เลขรายชื่อจังหวัดแบบสุ่มก่อนการจับสลากในแต่ละภูมิภาค ภูมิภาคละ 2 จังหวัด และ
กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นเมืองหลวง รวมทั้งสิ้น รวม 12 จังหวัด กับ 1 เขตปกครองพิเศษ
6. เพื่อให้ได้โรงเรียนที่มีจำานวนตัวอย่างเพียงพอที่จะถูกคัดเลือก และต้องการศึกษา
เปรียบเทียบบริบทความแตกต่างของโรงเรียนในเขตอำาเภอเมืองกับนอกเขตอำาเภอเมือง
ผู้วิจัยจึงได้นำาข้อมูลจังหวัดที่สุ่มได้ มาพิจารณาข้อมูลโรงเรียนสังกัด สพฐ. ที่มีจำานวนนักเรียน
รวมตั้งแต่ 500 คนขึ้นไป และต้องเป็นโรงเรียนที่มีการจัดการศึกษาตั้งแต่ระดับชั้น ม.1- ม.6
3-1