Page 41 - kpiebook66029
P. 41

การศึกษาการเปลี่ยนแปลงคุณภาพสังคมใหม่ :
                                                       คุณภาพสังคมในทัศนะของเยาวชน
                 บัญชา สำารวยรื่น และ คณะ (2559) ศึกษาสภาวการณ์เยาวชนในสถาบันอุดมศึกษาของ

            นักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสำารวจ
            และนำาเสนอรายงานสภาวการณ์และประเด็นที่น่าสนใจของนักศึกษาระดับปริญญาตรี
            มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ตัวอย่างวิจัย ได้แก่ นักศึกษาระดับปริญญาตรี ปีการศึกษา
            2557 จำานวน 1,835 คน จาก 6 คณะวิชา เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่
            แบบสำารวจสภาวการณ์เยาวชนในสถาบันอุดมศึกษาที่ปรับปรุงมาจากแบบสำารวจสภาวการณ์
            การใช้ชีวิตเด็กและเยาวชนของสถาบันรามจิตติ ผลการวิจัยพบว่า ภาพรวมสภาวการณ์
            เยาวชนในสถาบันอุดมศึกษาทั้ง 8 ด้านนั้น อยู่ในระดับดี 4 ด้าน ได้แก่ ด้านชีวิตกับการเรียนรู้
            ด้านชีวิตทางเพศ ด้านชีวิตกับอบายมุข และด้านชีวิตกับความรุนแรง และอยู่ในระดับปานกลาง
            4 ด้าน ได้แก่ ด้านชีวิตกับความแข็งแรง การบริโภค และความปลอดภัย ด้านชีวิตกับคุณธรรม

            และจริยธรรม ด้านชีวิตกับความเครียดและสุขภาพจิต และด้านชีวิตครอบครัว ส่วนในประเด็น
            การใช้ชีวิตในหนึ่งวันของนักศึกษา โดยภาพรวมพบว่านักศึกษามีโทรศัพท์มือถือที่เข้าอินเทอร์เน็ต
            ได้เฉลี่ยร้อยละ 97.28 และมักใช้เวลาอยู่กับสื่อชนิดต่าง ๆ เฉลี่ย 6-9 ชั่วโมงต่อวัน ขณะที่
            สภาวการณ์ที่น่าเป็นห่วง คือ นักศึกษาใช้เวลาในการอ่านหนังสือเฉลี่ยเพียง 30 นาทีต่อวัน
                 จันทนา อุดม และ คณะ (2559) ได้นำาเสนอบทบาท หน้าที่ และแนวทางการส่งเสริม
            การพัฒนาเยาวชนของสถาบันหลักทางสังคมที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการพัฒนาเยาวชนที่สำาคัญ
            4 สถาบัน ได้แก่ (1) สถาบันครอบครัว ซึ่งเป็นสถาบันขั้นพื้นฐานที่สำาคัญอย่างยิ่ง เนื่องจาก

            เป็นจุดเริ่มต้นของสถาบันอื่น ๆ ในสังคม ประกอบไปด้วยบิดามารดาเป็นบุคคลสำาคัญมีหน้าที่
            ในการอบรมเลี้ยงดูบุตรตั้งแต่แรกเกิด การอบรมเลี้ยงดูเป็นกระบวนการในการปลูกฝัง
            กล่อมเกลา และส่งเสริมให้เยาวชนเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีลักษณะนิสัย บุคลิกภาพ ตลอดจน
            มีพฤติกรรมที่ปรารถนาโดยผ่านขบวนการอบรมเลี้ยงดูจากครอบครัว (2) สถาบันการศึกษา
            เป็นสถาบันที่มีบทบาทสำาคัญรองลงมาจากสถาบันครอบครัว มีหน้าที่สำาคัญ คือ ส่งเสริมให้
            สมาชิกในสังคมเกิดความเจริญงอกงามในด้านต่าง ๆ ให้เป็นคนดี มีศีลธรรม มีค่านิยมที่ดีงาม
            รู้จักสิทธิหน้าที่ที่ตนพึงปฏิบัติต่อสังคมและประเทศชาติ รวมทั้ง ส่งเสริมให้เกิดการ
            เปลี่ยนแปลงและการปฏิรูปสังคมชีวิตการศึกษาของเยาวชนมีช่วงระยะเวลายาวนานหลายปี
            เยาวชนแต่ละคนใช้เวลาวันละหลายชั่วโมงอยู่กับครู ดังนั้น โรงเรียนที่ดีควรส่งเสริมนิสัยและ

            บุคลิกภาพที่ดีของนักเรียน (3) สถาบันศาสนา ซึ่งเป็นสถาบันที่ประกอบด้วย คำาสอน ความเชื่อ
            สิ่งศักดิ์สิทธิ์ วัด และคณะสงฆ์เป็นสถาบันที่มีหน้าที่เป็นศูนย์รวมความศรัทธา สร้างแบบแผน



                                                                       2-26
   36   37   38   39   40   41   42   43   44   45   46