Page 19 - kpiebook66029
P. 19

การศึกษาการเปลี่ยนแปลงคุณภาพสังคมใหม่ :
                                                       คุณภาพสังคมในทัศนะของเยาวชน

                 คุณภาพสังคม (Social Quality) ถึงแม้จะเป็นเรื่องที่ใหม่มากในสังคมไทย แต่เมื่อศึกษา
            ข้อมูลหลายแหล่ง จากงานศึกษาของ ศิริพงษ์ ทองจันทร์ และ สาวิตรี ชุ่มจันทร์ (2564)
            ก็พบว่า มี หลากหลายหน่วยงานที่ได้ทำาการศึกษาแนวคิดที่เชื่อมโยงกับเรื่องคุณภาพสังคม
            เพื่อให้สังคมไทยไปสู่เป้าหมายของการพัฒนาประเทศในหลายด้าน ประกอบไปด้วย ประการแรก
            คือความเป็นปึกแผ่นทางสังคมซึ่งจะแบ่งออกเป็น 2 มิติ คือการลดความไม่เท่าเทียมและ
            ความขัดแย้ง การสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน ประการที่สอง คือ การสร้างทุนทางสังคม
            คือ การนำาเอาทรัพยากรที่มีศักยภาพมาเชื่อมต่อกับการเป็นสมาชิกในเครือข่ายที่มีความสัมพันธ์
                                                        ้
            ในเชิงสถาบันไว้เป็นฐานสนับสนุน เพื่อให้มีบทบาทในการผลิตซำาในชนชั้นและประการที่สาม
            คือ การสร้างเครือข่ายทางสังคม คือการทำากิจกรรมให้เกิดกลุ่ม ซึ่งอาจเป็นกลุ่มองค์กร หรือ

            กลุ่มบุคคล เพื่อจุดประสงค์ของการแลกเปลี่ยนการจัดกิจกรรม หรือการผลิตระหว่างองค์กร
            สมาชิก ซึ่งคุณภาพทางสังคมถือเป็นปัจจัยที่สำาคัญที่ทำาให้เกิดการขับเคลื่อนการพัฒนา
            ในทุกด้านทั้ง เศรษฐกิจ สังคมและการเมือง



            2.2   คุณภาพสังคมกับการพัฒนาประเทศ
                 ปัจจุบันสังคมโลกกำาลังอยู่ในยุคที่เรียกกันว่า “โลกาภิวัฒน์” (globalization) ความเจริญ
            ก้าวหน้าของการสื่อสารโทรคมนาคมและเทคโนโลยีสารสนเทศสมัยปัจจุบันทำาให้โลกแคบลง

            สามารถติดต่อสื่อสารข้อความถึงกันและกันได้อย่างรวดเร็ว ทำาให้วัฒนธรรม วิถีชีวิต ความเชื่อ
            ความคิดของสังคม สามารถเผยแพร่กระจายและถ่ายโอนกันได้ง่ายและรวดเร็ว เกิดลัทธิ
            เอาอย่างตามกระแสชาวโลก  และเป็นไปอย่างรวดเร็ว จึงเป็นการยากที่จะควบคุมการเปลี่ยนแปลง
            ที่จะเกิดต่อสังคมได้ การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวหากเป็นไปรวดเร็วในอัตราที่เกินจะรับได้
            สังคมก็จะมีปัญหาขาดความสมดุลทางสังคม แต่หากการเปลี่ยนแปลงเป็นไปในอัตราที่
            พอรับได้ ประชาชนในสังคมนั้นก็จะสามารถดำารงชีพอยู่ได้อย่างพอสุข จากที่กล่าวมานี้
            ทำาให้เห็นว่า โลกาภิวัตน์เป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ที่มีผลต่อโครงสร้างทางการเมือง
            สังคม และวัฒนธรรมของสังคมหลังสมัยใหม่ ซึ่งลักษณะของสังคมยุคโลกาภิวัฒน์ พอสรุป
            ได้ดังนี้ (สมชาย รัตนทองคำา, 2558)

                   (1) โลกไร้พรหมแดน: ประเทศและประชาชนชาติต่าง ๆ จะเสมือนเคลื่อนเข้ามา
            ใกล้กันมากยิ่งขึ้น อันเนื่องจากเครือข่ายข้อมูลสามารถเชื่อมโยงถึงกัน สามารถสื่อสารกันได้ง่าย
            และสะดวกรวดเร็ว จึงทำาให้ความแตกต่างเรื่องเวลาและสถานที่หมดไป ในทศวรรษที่ 21



                                                                        2-4
   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24