Page 18 - kpiebook66029
P. 18

สถาบันพระปกเกล้า
             King Prajadhipok’s Institute
                 2)  การยอมรับเป็นสมาชิกในสังคมของบุคคล (Social Inclusion) เป็นประเด็น

          ที่ประชาชนสามารถเข้าถึงและเข้าร่วมเป็นสมาชิกของหน่วยงานหรือองค์กรใด ๆ ได้ รวมถึง
          ความสามารถในการเข้าถึงบริการทางสังคม ทรัพยากรต่าง ๆ โดยมีความเสมอภาคและ
          เท่าเทียมในสังคม
                 3)  ความสมานฉันท์ในสังคม (Social Cohesion) เป็นประเด็นที่เกี่ยวข้องกับ
          กระบวนการที่เป็นอุปสรรคหรือลดทอนความเข้มแข็งของเครือข่ายความร่วมมือทางสังคม
          หรือโครงสร้างพื้นฐานทางสังคม นอกจากนี้ ยังหมายถึงสภาพทางสังคมที่เป็นวัตถุ
          และความมีศักดิ์ศรีของมนุษย์ การยอมรับของคนในสังคม โดยในมิตินี้ ยังประกอบด้วย
          ความไว้ใจทั่วไป และความไว้ใจเฉพาะบุคคลด้วย
                 4)  การเสริมสร้างพลังทางสังคม (Social Empowerment) หมายถึง ศักยภาพ

          ที่แสดงให้เห็นและการมีปฏิสัมพันธ์ในสังคม การเสริมสร้างความสามารถเฉพาะบุคคล
          ศักยภาพในการถ่ายทอดสู่สังคม เช่น การมีองค์ความรู้ การสามารถเข้าสู่ตลาดแรงงาน
          การแบ่งเวลาให้ชีวิตครอบครัวและงานที่สัมพันธ์กัน โดยเป้าหมายหลักของการเสริมสร้างพลัง
          คือ การส่งเสริมให้คนสามารถเป็นพลเมืองที่มีศักยภาพและมีอำานาจที่แท้จริงได้ สรุป
          ดังภาพ 2-1



            ความมั่นคงทางสังคม   กระบวนการทางสังคม       ความสมานฉันท์
               และเศรษฐกิจ                                  ในสังคม



             ระบบ สถาบัน                                       ชุมชน
               องค์การ              คุณภาพสังคม             กลุ่มครอบครัว



                การยอมรับ            กระบวนการ            การเสริมสร้าง
             เป็นสมาชิกในสังคม   ที่เกี่ยวข้องกับปัจเจกชน  พลังทางสังคม



                             ภาพ 2-1: มิติของคุณภาพทางสังคม
                    Beck และคณะ (1997 อ้างใน สถาบันพระปกเกล้า, 2553)



           2-3
   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23