Page 17 - kpiebook66029
P. 17
การศึกษาการเปลี่ยนแปลงคุณภาพสังคมใหม่ :
คุณภาพสังคมในทัศนะของเยาวชน
ตัวกำาหนดคุณภาพทางสังคมจะถูกกำาหนดโดยปัจจัยกลุ่มที่สองนั่นคือคือปัจจัยเชิงเงื่อนไข
หรือกลไกที่จะนำาไปสู่คุณภาพทางสังคม ซึ่งประกอบไปด้วย 1) ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ-
สังคม (socio-economic security) 2) การยอมรับเป็นสมาชิกในสังคม (social inclusion)
3) ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในสังคม หรือความสมานฉันท์ (social cohesion) และ
4) การเสริมสร้างพลังทางสังคม (social empowerment) และในการประเมินในเชิงคุณค่า
เกี่ยวกับ “คุณภาพ” ของคุณภาพทางสังคม ปัจจัยกลุ่มที่สามนั่นคือปัจจัยเชิงปทัสถาน
(normative factors) จะเป็นรากฐานสำาคัญ โดยปัจจัยในกลุ่มนี้จะประกอบไปด้วย
1) ความเป็นธรรมทางสังคม (social justice) ซึ่งเป็นหลักทางปทัสถานในการประเมิน
ธรรมชาติของความมั่นคงทางเศรษฐกิจสังคม หากสังคมมีความเป็นธรรม ย่อมเป็น
เครื่องสะท้อนว่าสังคมดังกล่าวมีความมั่นคงทางเศรษฐกิจสังคม 2) การเป็นพลเมืองตาม
หลักประชาธิปไตย (democratic-based citizenship) ซึ่งเป็นหลักทางปทัสถานในการ
ประเมินธรรมชาติของการยอมรับเป็นสมาชิกในสังคม หากคนในสังคมได้รับสิทธิในฐานะ
ของพลเมืองตามหลักประชาธิปไตยไม่ว่าจะเป็นสิทธิทางการเมือง (political rights)
สิทธิพลเมือง (civil rights) และสิทธิทางสังคม (social rights) อย่างครบถ้วนย่อมเป็นเครื่องชี้วัด
ที่ดีถึงระดับการยอมรับเป็นสมาชิกในสังคมที่สูง 3) ความเป็นปึกแผ่น (solidarity) ซึ่งเป็น
หลักทางปทัสถานในการประเมินธรรมชาติของความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในสังคม และ
4) ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ (human dignity) ซึ่งเป็นหลักทางปทัสถานในการประเมิน
้
ธรรมชาติของการเสริมสร้างพลังทางสังคม (ไชยวัฒน์ คำาชู และ นิธิ เนื่องจำานง, 2553)
Beck และคณะ (1997 อ้างใน สถาบันพระปกเกล้า, 2553) ได้แบ่งมิติในการ
พัฒนาคุณภาพสังคมได้ 4 มิติ ประกอบด้วย 1) ความมั่นคงทางสังคมและเศรษฐกิจ
(Socio-economic Security) 2) การยอมรับเป็นสมาชิกในสังคมของบุคคล ทุกกลุ่มในสังคม
(Social Inclusion) 3) ความสมานฉันท์ในสังคม (Social Cohesion) และ 4) การเสริมสร้าง
พลังทางสังคม (Social Empowerment) รายละเอียดแต่ละด้านดังต่อไปนี้
1) ความมั่นคงทางสังคมและเศรษฐกิจ (Socio-economic Security) หมายถึง
การที่ความต้องการพื้นฐานซึ่งตอบสนองความจำาเป็นในแต่ละวันได้รับการตอบสนอง โดยเป็น
ความจำาเป็นขั้นพื้นฐานทางเศรษฐกิจและสังคม ได้แก่ การมีที่อยู่อาศัย สิ่งแวดล้อม
สาธารณสุข การจ้างงานและการตอบสนองทางวัตถุในกรณีอื่นๆ
2-2