Page 13 - kpiebook66029
P. 13
การศึกษาการเปลี่ยนแปลงคุณภาพสังคมใหม่ :
คุณภาพสังคมในทัศนะของเยาวชน
1.4.2 ขอบเขตด้านประชากร: ประชากร คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา
ที่อยู่ในโรงเรียนสังกัดสำานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ที่มีจำานวน
นักเรียนรวมตั้งแต่ 500 คนขึ้นไป ตามฐานข้อมูลของ สพฐ. ปีการศึกษา 2563 จำานวน
1,178 โรงเรียน 1,020,110 คน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาที่อยู่ใน
โรงเรียนสังกัด สพฐ. ที่มีจำานวนนักเรียนรวมตั้งแต่ 500 คนขึ้นไป ตามฐานข้อมูลของ สพฐ.
ปีการศึกษา 2563 จำานวน 1,560 คน
1.4.3 ขอบเขตด้านพื้นที่: เป็นโรงเรียนที่ได้รับการสุ่มจากจังหวัดต่าง ๆ กระจาย
ตามภาค โดยแบ่งเป็น 6 ภาค และ เมืองหลวง ได้แก่ ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก
เฉียงเหนือ ภาคตะวันออก ภาคตะวันตก ภาคใต้ และ กรุงเทพมหานคร
1.4.4 ขอบเขตด้านเวลา: ดำาเนินการศึกษาระหว่าง 1 ตุลาคม 2563 – 30 กันยายน
2564
1.5 นิยามศัพท์เฉพาะ
1.5.1 คุณภาพสังคม หมายถึง ระดับความสามารถของการมีส่วนร่วมของเยาวชน
ทั้งในด้านสังคมและเศรษฐกิจ ภายใต้สภาพแวดล้อมที่เอื้อให้เกิดสภาพความเป็นอยู่ที่ดี และ
ส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพอย่างเต็มที่ ซึ่งจำาแนกเป็น 4 มิติ ได้แก่
(1) ความมั่นคงทางสังคมและเศรษฐกิจ (Socio-economic Security)
หมายถึง การที่ความต้องการพื้นฐานซึ่งตอบสนองความจำาเป็นในแต่ละวันของเยาวชน
ได้รับการตอบสนอง โดยเป็นความจำาเป็นขั้นพื้นฐานทางเศรษฐกิจและสังคม ได้แก่ การมี
ที่อยู่อาศัย สิ่งแวดล้อม สาธารณสุข และการตอบสนองทางวัตถุในกรณีอื่น ๆ
(2) การยอมรับเป็นสมาชิกในสังคมของบุคคล (Social Inclusion) หมายถึง
การที่เยาวชนสามารถเข้าถึงและเข้าร่วมเป็นสมาชิกของหน่วยงานหรือองค์กรใด ๆ ได้ ตลอดจน
ความสามารถในการเข้าถึงบริการทางสังคม ทรัพยากรต่าง ๆ โดยมีความเสมอภาคและ
เท่าเทียมในสังคม และ เรื่องสิทธิมนุษยชน
(3) ความสมานฉันท์ในสังคม (Social Cohesion) หมายถึง กระบวนการ
ที่เป็นอุปสรรคหรือลดทอนความเข้มแข็งของเครือข่ายความร่วมมือทางสังคม หรือโครงสร้าง
พื้นฐานทางสังคม นอกจากนี้ ยังหมายถึงสภาพทางสังคมที่เป็นวัตถุ และความมีศักดิ์ศรี
ของมนุษย์ การยอมรับของคนในสังคม โดยในมิตินี้ ยังประกอบด้วยความไว้ใจทั่วไป ความไว้ใจ
เฉพาะบุคคล และ ความภูมิใจในชาติด้วย
1-5