Page 10 - kpiebook66029
P. 10

สถาบันพระปกเกล้า
             King Prajadhipok’s Institute
               สำาหรับคุณภาพสังคมของประเทศไทยนั้น มีข้อมูลบ่งชี้จากการสำารวจในระดับสากล

          และผลการจัดอันดับการพัฒนาด้านต่างๆ โดยองค์การระหว่างประเทศ พบว่า สถานภาพ
          การพัฒนาในหลายเรื่องของประเทศไทยเมื่อเปรียบเทียบกับนานาชาติอยู่ในภาวะที่
          น่าเป็นห่วง อาทิ ในด้านคุณภาพชีวิตมนุษย์ โดยผลตามดัชนีการพัฒนามนุษย์ (Human
          Development Index: HDI) และ ดัชนีคุณภาพชีวิต (Quality of Life Index) พบว่า
          ประเทศไทย ยังคงประสบปัญหาความยากจน มีอัตราการฆาตกรรมที่สูง รวมถึงมีอัตรา
          การเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางรถยนต์มากเป็นอันดับต้นของโลก ในด้านการจัดอันดับ
          คุณภาพสังคม การเมือง และการบริหารประเทศ โดยพิจารณาจากข้อมูลหลายแหล่ง ได้แก่
          รายงานความสุขของประชากรโลก (World Happiness Report) อันดับความโปร่งใส
          ประจำาปี โดยองค์กรความโปร่งใสระหว่างประเทศ (Transnational International) ดัชนี

          ความสามารถในการแข่งขัน โดยสภาเศรษฐกิจโลก (World Economic Forum) การจัดอันดับ
          เสรีภาพการใช้อินเทอร์เน็ตของประชาชน โดย Freedom House การจัดอันดับสภาพแวดล้อม
          และความสะดวกในการประกอบธุรกิจ โดยธนาคารโลก รวมถึง ตัวชี้วัดภาวะสังคม
          ของสำานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พบว่า ประเทศไทย
          ยังประสบปัญหาความยากจน ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชัน ความไร้เสถียรภาพทางการเมือง
          ปัญหาความมั่นคง ปัญหาทรัพย์สินทางปัญญา การขาดเสรีภาพในการใช้อินเทอร์เน็ต
          การขาดการบริหารจัดการที่ดินอย่างมีคุณภาพ (สำานักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและ

          สังคมแห่งชาติ, 2560) จากที่กล่าวมาสะท้อนให้เห็นว่า ประเทศไทยจะต้องเผชิญกับ
          ความท้าทายที่หลากหลายและสลับซับซ้อนมากกว่าในอดีต ทั้งภัยคุกคามแบบดั้งเดิมและ
          ภัยคุกคามรูปแบบใหม่ ซึ่งส่งผลต่อความถดถอยของคุณภาพสังคมในอนาคต และเกิด
          ผลกระทบต่อเด็กและเยาวชนที่กำาลังเติบโตขึ้นภายใต้สภาวการณ์ดังกล่าวอย่างไม่อาจ
          หลีกเลี่ยงได้ ดังนั้น การได้รับรู้มุมมองของเด็กและเยาวชนต่อสภาพสังคมในปัจจุบัน ตลอดจน
          คุณภาพสังคมใหม่ที่พวกเขาอยากจะเห็น จึงเป็นเรื่องที่มีความสำาคัญในการเป็นบันได
          ก้าวแรกของการเปิดโอกาสให้เด็กและเยาวชนได้เข้ามามีส่วนร่วม เพื่อทำาให้ทุกภาคส่วน
          ที่เกี่ยวข้องได้เกิดความตระหนัก สามารถออกแบบสังคมให้มีความมั่นคงและมีคุณภาพ
          สำาหรับพวกเขาในอนาคต

               เป็นที่ยอมรับและตระหนักว่า เด็กและเยาวชนในวันนี้ คือ ผู้ใหญ่ในวันหน้า เด็กและ
          เยาวชนจึงเป็นทรัพยากรที่สำาคัญของประเทศที่ในอนาคตจะเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการ



           1-2
   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15