Page 5 - kpiebook66029
P. 5

การศึกษาการเปลี่ยนแปลงคุณภาพสังคมใหม่ :
                                                       คุณภาพสังคมในทัศนะของเยาวชน
                                                                บทคัดย่อ



                 การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจ ความเชื่อมั่น และ ปัจจัย
            ที่มีความสัมพันธ์ต่อระดับความพึงพอใจในคุณภาพสังคมตามทัศนะของเยาวชน เพื่อนำาเสนอ
            แนวทางในการพัฒนาคุณภาพสังคมที่เหมาะสมกับบริบทสังคมไทย โดยใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณ
            ประชากร คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา ที่อยู่ในโรงเรียนสังกัดสำานักงานคณะกรรมการ
            การศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ที่มีจำานวนนักเรียนรวมตั้งแต่ 500 คนขึ้นไป ตามฐานข้อมูล
            สพฐ. ปีการศึกษา 2563 จำานวน 1,178 โรงเรียน 1,020,110 คน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียน
            ระดับชั้นมัธยมศึกษา ที่อยู่ในโรงเรียนสังกัด สพฐ. จำานวน 1,560 คน กระจายตามภูมิภาคต่าง ๆ
            เครื่องมือวิจัย เป็นแบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณภาพสังคมในทัศนะของเยาวชน

            จำานวน 50 ข้อ มีค่าความเที่ยงทั้งฉบับ เท่ากับ .824 วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้การแจกแจงความถี่
            (Frequency) ร้อยละ (Percentage) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และ
            หาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร (Chi-Square) ด้วยวิธีเพียร์สัน
                 ผลการศึกษา สรุปได้ดังนี้
                 (1) ภาพรวมของคุณภาพสังคมในมิติต่าง ๆ ได้แก่ ความมั่นคงทางสังคมและเศรษฐกิจ,
            การยอมรับเป็นสมาชิกในสังคมของบุคคล, ความสมานฉันท์ในสังคม และการเสริมสร้าง
            พลังทางสังคม ในทัศนะของเยาวชน พบว่า อยู่ในระดับที่ไม่พึงพอใจและไม่เชื่อมั่นเท่าที่ควร

            โดยไม่มีคะแนนเฉลี่ยใดที่มีระดับความพึงพอใจและความเชื่อมั่น เกินกว่าร้อยละ 70 ของ
            คะแนนเต็ม และยังพบว่า ความรู้สึกเป็นประชาธิปไตย และ ความมีอิสระในการแสดงออก
            ทางความคิดในที่สาธารณะ มีคะแนนเฉลี่ยน้อยกว่าร้อยละ 50 ของคะแนนเต็ม นอกจากนี้
            ยังพบว่า ปัจจัยด้านอายุมีความสัมพันธ์ทางลบกับระดับความพึงพอใจในคุณภาพสังคม
            ในเรื่องความรู้สึกเป็นประชาธิปไตย ความพอใจในชีวิตโดยรวม เสรีภาพในการแสดง
            ความคิดเห็น ความสุขในชีวิต ความปลอดภัยทางสังคม และความน่าไว้วางใจทางสังคม
                 (2)  ข้อเสนอแนวทางในการพัฒนาคุณภาพสังคมที่เหมาะสมกับบริบทสังคมไทย
            ที่สำาคัญ ได้แก่ รัฐบาล โดยกระทรวงศึกษาธิการจำาเป็นต้องปรับปรุงและทบทวนนโยบาย
            การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานทุกระดับอย่างเร่งด่วน, มุ่งใช้แนวทางสร้างแนวร่วมกับภาคส่วน

            ต่าง ๆ ในสังคม โดยเฉพาะกับกลุ่มเยาวชน ที่จะต้องกระตุ้นจิตสำานึกและปลุกให้หันมา
            ร่วมมือกับผู้ใหญ่ในการแก้ไขปัญหาคุณภาพสังคม, ต้องให้ความสำาคัญในการปลูกฝังนิสัย
   1   2   3   4   5   6   7   8   9   10