Page 9 - kpiebook66029
P. 9

การศึกษาการเปลี่ยนแปลงคุณภาพสังคมใหม่ :
                                                       คุณภาพสังคมในทัศนะของเยาวชน
                                                          บทที่ 1 บทนำา



            1.1   ที่มาและความสำาคัญ
                  คุณภาพสังคม (Social Quality) เป็นแนวคิดที่พัฒนาขึ้นโดยนักวิชาการจากประเทศ
            ยุโรปในช่วงกลางของทศวรรษ 1990 โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อแก้ไขจุดอ่อนและสร้างดุลยภาพ
            ให้เกิดขึ้นระหว่างการวัดผลการพัฒนาที่มุ่งเน้นตัวชี้วัดด้านเศรษฐกิจแต่เพียงด้านเดียว
            มาเน้นตัวชี้วัดทางด้านสังคมประกอบด้วย โดยคุณภาพสังคมตามคำานิยามของ Beck
            และคณะ (1998: 3 อ้างถึงใน สถาบันพระปกเกล้า, 2553) นั้น หมายถึง ระดับความสามารถ
            ของการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนทั้งในด้านสังคมและเศรษฐกิจ ภายใต้สภาพแวดล้อมที่เอื้อ
            ให้เกิดสภาพความเป็นอยู่ที่ดี และส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพอย่างเต็มที่ คุณภาพสังคม

            มีจุดเน้นทั้งในระดับสังคมและปัจเจกบุคคล คุณภาพสังคมในภาพรวมจะไม่ใช่หมายรวมเฉพาะ
            การเพิ่มขึ้นของคุณภาพชีวิตที่ดีของสมาชิกแต่ละคนเท่านั้น แต่จะหมายรวมถึงสภาพ
            ที่ดีขึ้นของสังคมโดยรวม และการมองสังคมในลักษณะองค์รวม โดยเฉพาะสังคมที่มีคุณภาพ
            หมายถึง สังคมที่ประสบความสำาเร็จทั้งในด้านเศรษฐกิจ และมีการพัฒนาให้เกิดการ
            มีส่วนร่วมและความเป็นธรรมทางสังคม โดยสังคมที่มีคุณภาพในระดับดีจะต้องเป็นสังคม
            ที่สมาชิกมีความสามารถและเข้ามีส่วนร่วมในกิจกรรมที่เกิดขึ้นในสังคม ทั้งด้านสังคมและ
            เศรษฐกิจ และการเข้ามีส่วนร่วมในกิจกรรมดังกล่าวจะอยู่ภายใต้สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อ

            การพัฒนาศักยภาพพื้นฐาน และระบบสวัสดิการที่เหมาะสมในชุมชน โดยเฉพาะการที่จะ
            สามารถเข้ามีส่วนร่วมนั้น สมาชิกของสังคมทุก ๆ คนจะต้องมีโอกาสในระดับที่ยอมรับได้
            ซึ่งความมั่นคงทางเศรษฐกิจ (Economic security) สมาชิกทุกคนได้รับการยอมรับ
            อย่างเท่าเทียมกัน (Social inclusion) อาศัยอยู่ในชุมชนที่มีความสมานฉันท์ (Cohesive
            communities) และมีการเสริมพลังให้เกิดมากขึ้น (Empowerment) ที่จะพัฒนา
            ตนเองอย่างเต็มศักยภาพ หรืออาจสรุปได้ว่าคุณภาพสังคมจะขึ้นอยู่กับระดับของเศรษฐกิจ
            สังคม และการเมืองที่ปัจเจกบุคคลมีโอกาสเข้าถึงได้อย่างพร้อมหน้ากันซึ่งภายใต้สภาวการณ์
            ปัจจุบันที่ทั่วโลกเกิดความผันผวนเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน นับตั้งแต่มีการแพร่ระบาด
            ของไวรัสโคโรน่า 2019 มาเป็นเวลากว่าสามปี ส่งผลให้ทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยกำาลังเผชิญ

            กับภาวะวิกฤติต่าง ๆ  ทั้งด้านสุขภาพ เศรษฐกิจ และสังคม นำาไปสู่การต้องปรับสมดุลใหม่
            ในการดำารงชีวิต



                                                                        1-1
   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14