Page 11 - kpiebook66029
P. 11
การศึกษาการเปลี่ยนแปลงคุณภาพสังคมใหม่ :
คุณภาพสังคมในทัศนะของเยาวชน
พัฒนาประเทศสืบต่อจากคนรุ่นปัจจุบัน นอกจากนี้ ยังมีบทบาทในฐานะเป็นผู้สืบทอดมรดก
วัฒนธรรม และภูมิปัญญาจากคนรุ่นก่อนด้วย แต่ในสภาพความเป็นจริง สังคมกำาลังเผชิญ
อยู่กับภาวะปัญหาต่าง ๆ อย่างต่อเนื่องในทุกมิติที่กระทบต่อการพัฒนา กล่าวได้ว่า นับแต่
ปี ค.ศ. 2011 โลกจะต้องรับมือกับสถานการณ์ความรุนแรงของปัญหาด้านเด็กและเยาวชน
ที่พุ่งสูงขึ้นจนถึงขั้นวิกฤติ และคาดการณ์กันว่า ในศตวรรษหน้าแนวโน้มสังคมโลกจะมี
อารยธรรม ศีลธรรม และความรับผิดชอบทางสังคมที่ถดถอยลงแทบทุกด้าน ส่งผลทำาให้
เยาวชนซึ่งเป็นพลโลกรุ่นถัดไปมีปัญหาอย่างต่อเนื่อง ตัวอย่างเช่น ปัญหาด้านพัฒนาการด้าน
จิตวิทยาสังคม การพัฒนาการด้านความคิด การรับรู้ของเด็กและเยาวชนในสภาวการณ์ต่าง ๆ
ด้านเศรษฐกิจ การเมือง และวัฒนธรรมของสังคม การค้าแรงงาน ปัญหาทารุณกรรมเด็ก
และเยาวชนที่มีแนวโน้มจะก่อให้เกิดความรุนแรงยิ่งขึ้น (จันทนา อุดม และ คณะ, 2559) ในขณะที่
เป้าหมายและการวางกรอบการพัฒนาประเทศในระยะ 5 ปี ภายใต้แผนพัฒนาเศรษฐกิจ
และสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ.2566-2570) มีความมุ่งหมายที่จะเร่งเพิ่มศักยภาพของ
ประเทศในการรับมือกับความเสี่ยงที่อาจส่งผลกระทบที่รุนแรงและเสริมสร้างความสามารถ
ในการสร้างสรรค์ประโยชน์จากโอกาสที่เกิดขึ้นได้อย่างเหมาะสมและทันท่วงที เพื่อพลิกโฉม
ประเทศไทยสู่ “สังคมก้าวหน้า เศรษฐกิจสร้างมูลค่าอย่างยั่งยืน” ซึ่งหมายถึง การสร้าง
การเปลี่ยนแปลงที่ครอบคลุมตั้งแต่ระดับโครงสร้าง นโยบาย และกลไก เพื่อมุ่งเสริมสร้าง
สังคมที่ก้าวทันพลวัตของโลก และเกื้อหนุนให้คนไทยมีโอกาสที่จะพัฒนาตนเองได้อย่าง
เต็มศักยภาพ พร้อมกับการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจไปสู่การขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี นวัตกรรม
และความคิดสร้างสรรค์ มีความสามารถในการสร้างมูลค่าเพิ่มที่สูง และคำานึงถึงความยั่งยืน
ด้านสิ่งแวดล้อม โดยกำาหนดเป้าหมายหลักที่เกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพสังคมไว้ ได้แก่
การพัฒนาคนสำาหรับโลกยุคใหม่ โดยพัฒนาให้คนไทยมีทักษะและคุณลักษณะที่เหมาะสม
กับโลกยุคใหม่ ทั้งทักษะในด้านความรู้ ทักษะทางพฤติกรรม และคุณลักษณะตามบรรทัดฐาน
ที่ดีของสังคม เตรียมพร้อมกำาลังคนที่มีคุณภาพสอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน
เอื้อต่อการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจไปสู่ภาคการผลิตและบริการเป้าหมายที่มีศักยภาพและ
ผลิตภาพสูงขึ้น รวมทั้งพัฒนาหลักประกันและความคุ้มครองทางสังคมเพื่อส่งเสริม
้
ความมั่นคงในชีวิต และการมุ่งสู่สังคมแห่งโอกาสและความเป็นธรรม โดยลดความเหลื่อมลำา
ทั้งในเชิงรายได้ ความมั่งคั่ง และโอกาสในการแข่งขันของภาคธุรกิจ สนับสนุนช่วยเหลือ
กลุ่มเปราะบางและผู้ด้อยโอกาสให้มีโอกาสในการเลื่อนชั้นทางเศรษฐกิจและสังคม รวมถึง
1-3