Page 49 - kpiebook66022
P. 49
การประเมินผลการดำาเนินงานของรัฐสภา
โดยใช้เกณฑ์และตัวชี้วัดของ Inter-Parliamentary Union (IPU)
วันประชุมในสมัยประชุมที่มีกำาหนดเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยยี่สิบวันโดยไม่ได้รับอนุญาตจากประธาน
วุฒิสภา จะต้องสิ้นสุดสมาชิกภาพไป (มาตรา 111(5))
ในส่วนของการประชุมรัฐสภา รัฐธรรมนูญได้กำาหนดเฉพาะในส่วนของความคุ้มกัน
ให้แก่สมาชิกวุฒิสภาเท่านั้น ซึ่งแตกต่างจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ได้รับทั้งเอกสิทธิ์และความคุ้มกัน
ในสมัยประชุมรัฐสภา สำาหรับในส่วนของความคุ้มกันถูกกำาหนดไว้ในบทบัญญัติมาตรา 125 ในระหว่าง
สมัยประชุม ห้ามมิให้จับ คุมขัง หรือหมายเรียกตัวสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาไปทำาการ
สอบสวนในฐานะที่สมาชิกผู้นั้นเป็นผู้ต้องหาในคดีอาญา เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากสภาที่ผู้นั้นเป็นสมาชิก
หรือเป็นการจับในขณะกระทำาความผิด
2.3.2.3 การพิจารณาร่างกฎหมาย
(1) ในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติทั่วไป วุฒิสภามีหน้าที่พิจารณา
ร่างพระราชบัญญัติต่อจากสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภาต้องพิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่เสนอมานั้น
ให้เสร็จภายในหกสิบวัน แต่ถ้าร่างพระราชบัญญัตินั้นเป็นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินต้อง
พิจารณาให้เสร็จภายในสามสิบวัน ทั้งนี้ เว้นแต่วุฒิสภาจะได้ลงมติให้ขยายเวลาออกไปเป็นกรณีพิเศษ
ซึ่งต้องไม่เกินสามสิบวัน กำาหนดวันดังกล่าวให้หมายถึงวันในสมัยประชุม และให้เริ่มนับแต่วันที่
ร่างพระราชบัญญัตินั้นมาถึงวุฒิสภา (มาตรา 136 วรรคแรก) ถ้าวุฒิสภาพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ
ไม่เสร็จภายในกำาหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง ให้ถือว่าวุฒิสภาได้ให้ความเห็นชอบในร่างพระราชบัญญัตินั้น
(มาตรา 136 วรรคสาม)
(2) ในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำาปีงบประมาณ
ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม และร่างพระราชบัญญัติโอนงบประมาณรายจ่าย ภายหลัง
จากการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร ในการพิจารณาของวุฒิสภา วุฒิสภาจะต้องให้ความเห็นชอบ
หรือไม่ให้ความเห็นชอบภายในยี่สิบวันนับแต่วันที่ร่างพระราชบัญญัตินั้นมาถึงวุฒิสภา โดยจะแก้ไข
เพิ่มเติมใด ๆ มิได้ ถ้าพ้นกำาหนดเวลาดังกล่าวให้ถือว่าวุฒิสภาเห็นชอบกับร่างพระราชบัญญัตินั้น
ในกรณีเช่นนี้และในกรณีที่วุฒิสภาให้ความเห็นชอบให้ดำาเนินการต่อไปตามมาตรา 81 (มาตรา 143
วรรคสาม) ถ้าวุฒิสภาไม่เห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว ให้นำาความในมาตรา 138 วรรคสอง
มาใช้บังคับโดยอนุโลม โดยให้สภาผู้แทนราษฎรยกขึ้นพิจารณาใหม่ได้ทันที (มาตรา 143 วรรคสี่)
(3) ในการพิจารณาพระราชกำาหนด เมื่อพระมหากษัตริย์ทรงตราพระราชกำาหนด
ตามคำาเสนอแนะของคณะรัฐมนตรีตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญมาตรา 172 กำาหนดให้เป็นหน้าที่ของ
คณะรัฐมนตรีในการนำาพระราชกำาหนดนั้นเข้าสู่การพิจารณาเพื่อพิจารณาอนุมัติหรือไม่อนุมัติจากรัฐสภา
ดังนั้น บทบาทอำานาจหน้าที่ในการพิจารณาพระราชกำาหนดจึงเป็นส่วนหนึ่งของสมาชิกวุฒิสภา
2.3.2.4 หน้าที่ของวุฒิสภาเกี่ยวกับการเสนอให้ความเห็นในประเด็นต่าง ๆ
(1) การให้ความเห็นเพื่อแต่งตั้งผู้เป็นนายกรัฐมนตรี (ในระหว่าง 5 ปีแรก
ตามบทเฉพาะกาล)
ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญในมาตรา 159 ได้กำาหนดให้สภาผู้แทนราษฎร
เป็นองค์กรหลักในการพิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคลซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี โดยเลือก
35