Page 31 - kpiebook66022
P. 31

การประเมินผลการดำาเนินงานของรัฐสภา
                                                  โดยใช้เกณฑ์และตัวชี้วัดของ Inter-Parliamentary Union (IPU)

                          สำานักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรและสำานักงานเลขาธิการวุฒิสภา รวมถึง
            สถาบันพระปกเกล้า ควรวางยุทธศาสตร์การพัฒนาขีดความสามารถและสมรรถนะของสมาชิกรัฐสภา
            อย่างเป็นระบบ บนพื้นฐานความโปร่งใสและการเข้าถึงได้ของข้อมูลของประชาชน
                          สำานักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรและสำานักงานเลขาธิการวุฒิสภา ควรจัดทำา
            การสำารวจความเชื่อมั่นอย่างเป็นระบบแล้วประชาสัมพันธ์และเผยแพร่สู่สาธารณะและนำาความเห็นของ

            ประชาชนไปใช้ในการปรับปรุงการทำางานของสมาชิกรัฐสภา
                          คณะกรรมการการเลือกตั้ง ควรทบทวนและปรับปรุงระบบการตรวจสอบการให้เงิน
            อุดหนุนแก่พรรคการเมืองให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น และบังคับใช้อย่างเสมอภาค รวมทั้งกำาหนดมาตรการ
            และวิธีการส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนและภาคสังคมมีส่วนร่วมด้วย รวมทั้งผลักดันให้พรรคการเมือง
            มีบทบาทในการส่งเสริมการสร้างจิตสำานึกของสมาชิกรัฐสภาให้มีความสำานึกรับผิดชอบต่อประชาชน
            ทั้งประเทศและประชาชนในเขตเลือกตั้ง
                          ควรมีการส่งเสริมและสนับสนุนบทบาทของสื่อและสื่อระดับท้องถิ่น หรือชุมชน ในกรณี
            อยู่ต่างจังหวัดหรือพื้นที่ที่ห่างไกล ใช้วิทยุรัฐสภา สื่อออนไลน์ จัดเวที เพื่อให้สมาชิกรัฐสภาและ/หรือ
            ผู้ช่วยประจำาตัวสมาชิกรัฐสภา เข้าถึงประชาชนให้ใกล้ชิดและทั่วถึง
                 2.2.3  การประเมินผลการดำาเนินงานของรัฐสภาไทย (สภานิติบัญญัติแห่งชาติ) พ.ศ. 2557 - 2562
                                                                                     12
                     สำาหรับการประเมินการดำาเนินงานของรัฐสภาในครั้งนี้ เป็นการประเมินสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
            ที่ได้รับการแต่งตั้งตามมาตรา 6 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557
            ซึ่งทำาหน้าที่ตั้งแต่วันที่ 31 กรกฎาคม 2557 และสิ้นสุดการปฏิบัติหน้าที่อย่างเป็นทางการเมื่อวันอังคารที่
            21 พฤษภาคม 2562 โดยคณะผู้วิจัยได้ปรับปรุงเครื่องมือวิจัยจากแบบสอบถามในงานวิจัย เรื่อง สถาบัน
            การเมืองกับการพัฒนาประชาธิปไตย : ศึกษากรณีการดำาเนินงานของรัฐสภาตามเกณฑ์และตัวชี้วัดของ
            สหภาพรัฐสภา (IPU)   โดยได้ตัดข้อคำาถามที่เกี่ยวกับพรรคการเมืองออก รวมทั้ง ได้ลดทอนข้อคำาถาม
                           13
            ที่มีการแยกสอบถามระหว่างการดำาเนินงานของสภาผู้แทนราษฎรกับวุฒิสภาให้เหลือเพียงประเด็นละ
                                                                                     14
            1 ข้อ เนื่องจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ มีบทบาททั้งการเป็นสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา และรัฐสภา
            โดยแบบสอบถามที่พัฒนาขึ้น แบ่งออกเป็นสองส่วน ส่วนแรก เป็นข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบแบบสอบถาม
            ได้แก่ เพศ อายุ การศึกษา อาชีพ รวมจำานวน 4 ข้อ และส่วนที่สอง เป็นแบบสอบถามการดำาเนินงานของ
            สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ใน 6 ด้าน โดยในแต่ละด้านมีองค์ประกอบย่อยรวมทั้งสิ้น 32 องค์ประกอบย่อย
            และในแต่ละองค์ประกอบย่อย มีคำาถามย่อยรวมทั้งสิ้น 82 ข้อ ประกอบด้วย


                 12   สรุปจาก การประเมินผลการดำาเนินการของรัฐสภาไทย (สภานิติบัญญัติแห่งชาติ) โดยใช้เกณฑ์และตัวชี้วัดของ
             Inter-Parliamentary Union (IPU) ,สถาบันพระปกเกล้า 2562
                 13  สถาบันประปกเกล้า, รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ สถาบันการเมืองกับการพัฒนาประชาธิปไตย : ศึกษากรณี
            การดำาเนินงานของรัฐสภาตามเกณฑ์และตัวชี้วัดของสหภาพรัฐสภา (Inter-Parliamentary Union : IPU),กรุงเทพ:
            สถาบันพระปกเกล้า, 2555.
                 14  มาตรา 6 วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557



                                                                                   17
   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36