Page 33 - kpiebook66022
P. 33

การประเมินผลการดำาเนินงานของรัฐสภา
                                                  โดยใช้เกณฑ์และตัวชี้วัดของ Inter-Parliamentary Union (IPU)

                     จากผลที่ได้สรุปได้ว่า การดำาเนินงานของสภานิติบัญญัติแห่งชาติอยู่ในระดับปานกลาง
            ทุกด้าน โดยเมื่อพิจารณาเป็นรายองค์ประกอบ พบว่า ด้านการมีส่วนร่วมในนโยบายระหว่างประเทศ
            มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 2.73 S.D. = 0.89) รองลงมา คือ ด้านการทำาหน้าที่ด้านนิติบัญญัติ
            ด้านความสำานึกรับผิดชอบ ด้านการตรวจสอบฝ่ายบริหาร ด้านความโปร่งใสและการเข้าถึงได้ของรัฐสภา
                                                   ่
            และ ด้านการเป็นตัวแทนของประชาชน มีค่าเฉลี่ยตำาที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 2.05 S.D. = 0.88) งานวิจัย
            ในครั้งนั้น มีข้อเสนอแนะสรุปได้ดังนี้

                     (1) ข้อเสนอแนะด้านการเป็นตัวแทนประชาชน
                         ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
                                 ควรมีการกระจายคนที่ทำาหน้าที่ให้เหมาะสมกับวงงานด้านต่าง ๆ
                                 ให้มีกระบวนการได้มาซึ่งสมาชิกเพศหญิงมากขึ้น โดยมีสัดส่วนเพศหญิง
            อย่างน้อย ร้อยละ 20
                                 ควรจัดระบบอย่างเป็นทางการว่าสมาชิกสภานิติบัญญัติ มีตัวแทนกลุ่มใดบ้าง
            อาทิ กลุ่มทหาร กลุ่มข้าราชการ ข้าราชการพลเรือน นักธุรกิจ  เป็นต้น
                        ข้อเสนอแนะเชิงบริหารจัดการ
                                 การได้มาซึ่งสมาชิกควรมีการปรับปรุงกติกาการคัดเลือกให้หลากหลาย

            โดยเฉพาะการให้มีฝ่ายที่เห็นต่างเข้ามาร่วมด้วย
                                 การดำาเนินงานต้องเข้าถึงประชาชน ประชาชนต้องมีส่วนร่วม และต้องให้
            ข้อมูลในการลงพื้นที่
                     (2)  ข้อเสนอแนะด้านการทำาหน้าที่นิติบัญญัติ
                         ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
                                 ในการพิจารณากฎหมายควรกำาหนดกรอบเวลาให้ชัดเจน เพื่อให้การพิจารณาสำาเร็จ
                                 ควรมีการรับฟังความคิดเห็นให้รอบด้านมากขึ้น เพื่อให้การพิจารณากฎหมาย

            มีความรอบคอบ
                                 ควรดำาเนินการตามมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
            พุทธศักราช 2560 อย่างเคร่งครัด
                                 ควรให้โอกาสประชาชนสามารถเสนอกฎหมายได้มากขึ้น
                        ข้อเสนอเชิงการบริหารจัดการ
                                 ควรชี้แจงให้ประชาชนทราบว่ากฎหมายเรื่องใดถูกพิจารณา ในการพิจารณานั้น
            เหตุใดจึงพิจารณาช้าหรือเร็ว เรื่องที่พิจารณาผ่านหรือไม่ผ่านเพราะเหตุใด เพื่อให้ประชาชนสามารถติดตาม
            ตรวจสอบการทำางานได้ดียิ่งขึ้น
                                 ควรมีแผนจัดลำาดับความสำาคัญของกฎหมายให้ชัดเจน

                                 ควรจัดระบบรับฟังความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับร่างกฎหมาย
            ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น


                                                                                   19
   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37   38