Page 97 - kpiebook66013
P. 97

เรื่องแรงงาน เช่น ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
               ของสหประชาชาติ นอกจากนี้แล้ว ยังมีกฎเกณฑ์หรือกติกาสากลอีกประเภทหนึ่ง

               ที่มีคุณค่าในสากลแต่อาจเจาะจงเฉพาะกลุ่มคนหรือด้วยเหตุผลพิเศษในเรื่องเฉพาะ
               ที่ไม่ถึงกับเป็นค่านิยมร่วมส�าหรับมวลมนุษยชาติทั้งหมด ทว่า กฎเกณฑ์หรือกติกา

               เหล่านี้มีส่วนช่วยยกระดับการจ้างหรือการใช้แรงงานให้เกิดความเป็นธรรมต่อ
               ฝ่ายลูกจ้าง ตลอดจนเป็นการจ้างหรือการใช้แรงงานที่สนองต่อพลวัตของระบบ

               เศรษฐกิจและสังคมโลกที่ปรับเปลี่ยนไปตามเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่พัฒนา
               อย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง เช่น แนวคิดขององค์การแรงงานระหว่างประเทศเกี่ยวกับ

               การท�างานที่มีคุณค่า (Decent Work) แนวคิดขององค์การระหว่างประเทศว่า
               ด้วยการมาตรฐาน (International Organization for Standardization – ISO)

               ในประเด็นเกี่ยวกับการแรงงาน ตัวอย่างเช่น ISO26000, ISO45001 และแนวคิด
               ขององค์การสหประชาชาติว่าด้วยการประกอบกิจการที่เคารพต่อสิทธิมนุษยชน


                      ข้อเท็จจริงที่ได้สรุปไว้ใน 3 ย่อหน้าก่อนหน้านี้ คือ โครงสร้างพื้นฐาน
               ของกฎเกณฑ์เกี่ยวกับการจ้างแรงงานของไทย และข้อเท็จจริงที่ได้สรุปไว้

               ใน 2 ย่อหน้าก่อนหน้านี้ และย่อหน้าก่อนหน้านี้ คือ บริบทและปัจจัยภายนอก
               (สากล) ที่กฎหมายแรงงานไทยจ�าต้องถือเป็นข้อพิจารณาส�าคัญอันเป็นเป้าประสงค์

               เพื่อการพัฒนากฎหมายแรงงานไทยและทิศทางในการพัฒนาปรับปรุงกฎเกณฑ์
               ทางแรงงานให้มีความเป็นสากลและสอดคล้องกับพลวัตปัจจุบัน ตามล�าดับ

               ในทางหลักวิชาการนั้น การพัฒนาปรับปรุงกฎหมายแรงงานจ�าเป็นต้องทบทวน
               บริบททั้ง 3 นี้เป็นส�าคัญ กล่าวคือ


                      1. ส่วนที่หนึ่ง ส่วนนโยบายและแผนชาติ และบทบัญญัติกฎหมาย
               ในล�าดับศักดิ์ต่างๆ ตลอดจนค�าพิพากษา ซึ่งเป็นที่มาภายในของกฎหมายแรงงานไทย

               ควรพิจารณาว่า

                        ก.  กฎหมายแรงงานที่เป็นอยู่สนองต่อแผนหรือนโยบายระดับชาติ

                             ในส่วนที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการแรงงานครบถ้วนสมบูรณ์ดีหรือไม่
                        ข.  กฎหมายแรงงานที่บังคับใช้อยู่นั้น มีความเป็นเอกภาพ สอดคล้อง

                             สัมพันธ์กันอย่างเป็นระบบหรือไม่



                                                                                  97
   92   93   94   95   96   97   98   99   100   101   102